DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3071
|
Title: | อิทธิพลของการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการสื่อสารปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-word of Mouth) ที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันชมภาพยนตร์ และซีรีส์ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The Influence of Perceived Ease of Use, Perceived Benefits and Electronic Word-of-Mouth (E-word of mouth) on Generation Y Consumers’ Intention to use a Movie Application and Series in Bangkok |
Authors: | นฤมล ยีมะลี |
Keywords: | การรับรู้ความง่าย การรับรู้ประโยชน์ การสื่อสารปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ความตั้งใจซื้อ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการสื่อสารปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-word of Mouth) ที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันชมภาพยนตร์ และซีรีส์ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 18 – 38 ปี จำนวน 150 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวกและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นในรูปแบบการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 23-27 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-20,000 บาท เมื่อพิจารณาความเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการสื่อสารปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีความเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับค่อนข้างเห็นด้วย
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ด้านความเพลิดเพลิน ด้านความประหยัดเวลา และการสื่อสารปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันชมภาพยนตร์ และซีรีส์ ในขณะที่การรับรู้ประโยชน์ด้านความสะดวกสบาย ไม่ส่งผลการตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันชมภาพยนตร์ และซีรีส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 The purpose of this study was to study the influence of perceived ease of use, perceived benefits and electronic word-of-mouth (E-word of mouth) on generation Y consumers’ Intention to use a movie application and series in Bangkok. The population used in this study was 150 samples with age between 18 and 38 years old using a convenient sample selection method and questionnaire as a tool for collecting data. Statistics used in the analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and linear regression analysis in multiple regression analysis.
The research found that most of the respondents were female with 23 - 27 years of age. who worked as a private companies, and earned average monthly income 10,001-20,000 Baht. Overall, the study results indicated that perceived ease, perceived benefits and electronic word-of-mouth on generation Y consumers’ intention to use a movie application and series in Bangkok rather acceptance are at high level.
The hypothesis test found that the perceived ease of use and perceived benefits in enjoyment and time savings affected the intended use of the movies application and series, while perceived benefits in comfortable aspect did not intend to use the service to movies application and series at the 0.05 level of significance. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560 |
Subjects: | สื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ชมภาพยนตร์ -- วิจัย ผู้ชมภาพยนตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ชมภาพยนตร์ -- พฤติกรรม -- การศึกษาเฉพาะกรณี ภาพยนตร์ -- การตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ชมภาพยนตร์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การศึกษาเฉพาะกรณี |
Advisor(s): | ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3071 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master Independent Studies
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|