DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3023

Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors of Technology Acceptance Affecting Attitude and Intention to Use E-Wallet among Consumers in Bangkok
Authors: ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย
Keywords: การยอมรับเทคโนโลยี
บริการ E-Wallet
การรับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งาน
การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน
ความไว้วางใจของผู้ใช้งาน
การรับรู้ความเสี่ยง
ทัศนคติ
ความตั้งใจในการใช้บริการ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีในการใช้บริการ E-Wallet อันประกอบไปด้วย การรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน, การรับรู้ความยากง่ายที่เกิดจากการใช้งาน, ความไว้วางใจในระบบ,การรับรู้ถึงความเสี่ยงในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจใช้งานบริการ E–Wallet ในจังหวัดกรุงเทพมหานครโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการการซื้อสินค้าผ่านระบบ E-Wallet ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ จากการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 26 – 35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 30,000 บาท เลือกใช้บริการ E-Wallet ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ใช้บริการ E-Wallet ที่ห้างสรรพสินค้า ใช้บริการเวลา 18.01 – 00.00 น.และใช้บริการ E-Wallet ในการซื้อสินค้าราคาน้อยกว่า 500 บาท งานวิจัยนี้ได้ผลวิเคราะห์ตามสมมติฐานพบว่า ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งาน ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านความไว้วางใจของผู้ใช้งาน ด้านการรับรู้ความเสี่ยง มีอิทธิพลต่อทัศนคติ และยังพบว่า ทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้งานE-Walletอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
This study proposes the technology acceptance to use E-Wallet, which composes Perceived usefulness, Perceived ease of use, System trust, Perceived risk and Intention to use E-Wallet among Consumers in Bangkok. Questionnaires were distributed to a sample of 400 E-Wallet consumers in Bangkok area. Statistical analysis used for this study includes percentage, mean, standard deviation, and multiple regressions. The results reveal that most of the respondents were females, aged between 26-35 years old. Most of the respondents held bachelor’s degrees and work for private companies. The average income of the respondents is 15,000 – 30,000 baht. Respondents mostly use E-Wallet to purchase consumer products at the department stores. The period of purchase is between 18.01 – 00.00 with the spending of less than 500 bath per each purchase. As for the hypothesis testing, it was found that perceived usefulness, Perceived ease of use, System trust, Perceived risk affect attitude and Intention to use E-Wallet at significant level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การรู้จักใช้เทคโนโลยี
สินค้า -- การจัดซื้อ
เทคโนโลยี
การชำระเงิน
การรับรู้
Advisor(s): รวิพรรณ สุภาวรรณ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3023
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chayaporn_kiti.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback