DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2963

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสินค้าคงเหลือกับอัตราผลกำไรของบริษัทในหมวดเครื่องใช้ครัวเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: The Relationship between Inventory Management and Firm’s Profitability: Evidence From Companies in Home Sector Listed on the Stock Exchange of Thailand
Authors: พงศกฤษฎิ์ ศุภภาคิณ
Keywords: อัตราส่วนทางการเงิน
การบริหารคลังสินค้า
อัตราของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือส่งผลกระทบกับอัตราผลกำไรของบริษัทในหมวดเครื่องใช้ครัวเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าคงเหลือจากกลุ่มธุรกิจในหมวดดังกล่าว มีความสำคัญกับการใช้ในชีวิตประจำวันในยุคสมัยนี้ และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนในด้านของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้กำหนดตัวแปรที่ใช้เป็นตัวแทนของการบริหารสินค้าคงเหลือคือ อัตราสินค้าคงเหลือต่อยอดขาย (ISR : Inventory to Sale Ratio) และในส่วนของตัวแปรที่ใช้เป็นตัวแทนของอัตราผลกำไรของบริษัท คือ อัตราของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA : Return on Asset) โดยใช้ข้อมูลที่เป็นความถี่รายไตรมาส ระหว่างไตรมาสที่ 3 ปีพ.ศ. 2545 จนถึงไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ. 2560 โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยทางผู้วิจัยได้ใส่ตัวแปรควบคุมในตัวแบบที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ขนาดของกิจการ อัตราส่วนวัดภาระหนี้สิน และอัตราส่วนความเข้มข้นในการใช้ทุน พบว่า อัตราสินค้าคงเหลือต่อยอดขายแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่ออัตราของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งผลการวิจัยนี้มีบริษัทที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามจำนวนทั้งสิ้น 6 บริษัท และมีจำนวน 2 บริษัท ที่ไม่มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกัน อธิบายได้ว่าบริษัทใดที่มีอัตราสินค้าคงเหลือต่อยอดขายน้อยจะส่งผลให้มีอัตราผลกำไรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการบริหารสินค้าคงเหลือมีความสำคัญกับผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างชัดเจน
In this research aims to study the relationship about the inventory management affect the profit margin of the companies in home sector listed on the stock exchange of Thailand. This is because the inventory from business group in such above category. For daily use in the modern world, and is part of the motivation in domestic economy, which in this study defines a variable that in used as an agent of the executive inventory is inventory to sales ratio (ISR) and in part of the variables used are representative of the company's profit is the rate of return on assets (ROA) by using the information that a quarterly frequency during the quarter 3 in 2002 until quarter 1 in 2017 and using multiple regression equation analysis as a tool in statistical data analysis. By the way researchers have put the control variables used in this study. It consists of firm’s size (FS) , leverage ratio (LR) and capital intensity ratio (CIR) , It is found that the rate of inventory to sales demonstrate the adverse effects on the rate of return on assets clearly. These findings, which are companies that have a relationship in the opposite direction, a total of 6 companies and 2 companies that do not have a relationship in the same way. That explain how companies should have less inventory to sales ratio will result in more profit margin, which reflects that The inventory management is critical to the company's operating result clearly
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: สินค้าคงคลัง
การควบคุมสินค้าคงคลัง
ตลาดหลักทรัพย์ -- วิจัย
การบริหาร
ตลาดหลักทรัพย์ -- สินค้าคงคลัง -- วิจัย
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
ตลาดหลักทรัพย์ -- เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า -- วิจัย
Advisor(s): รพีสร เฟื่องเกษม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2963
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pongsakrit_supa.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback