DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2879

Title: ปัญหาการคุ้มครองสิทธิบัตรพืชที่มีฤทธิ์เสพติด: ศึกษากรณีพืชกระท่อม กัญชา และกัญชง
Other Titles: The problems of patent protection for plants that have addictive effects: The studies of mitragyna speciosa, marijuana and hemp
Authors: กานดา เพชรเลิศ
Keywords: สิทธิบัตร
มะเร็ง
รักษาโรค
กัญชา
พืชที่มีฤทธิ์เสพติด
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในทางการแพทย์สากลแล้วว่ากัญชาเป็นสมุนไพรที่ช่วยทำให้นอนหลับ ลดอาการปวด คลื่นไส้อาเจียน ลดอาการเครียดแก้โรคลมชัก คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้คีโมบำบัดหรือฉายแสง ทั้งนี้มีผลการวิจัยทดลองสารสกัดจากกัญชากับเซลล์มะเร็งที่บันทึกและปรากฏอยู่ในศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The National Center for Biotechnology Information) รวมถึงมีปรากฏอยู่ในรายงานวารสารทางการแพทย์ชั้นนำของโลกอีกด้วย สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรพืชที่มีฤทธิ์เสพติดในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการขอรับความคุ้มครอง โดยการศึกษาถึงกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ กล่าวคือ อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (The Paris Convention for the Protection of Industrial Property 1979), ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (The Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights) กฎหมายประเทศญี่ปุ่น และกฎหมายประเทศอินเดีย เปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศไทย เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรและการคุ้มครองพันธ์พืชที่มีฤทธิ์เสพติด และผลการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์ในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรพืชที่มีฤทธิ์เสพติดในประเทศไทยตามที่ได้ศึกษามานี้ ยังมีข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนหลายประการ ซึ่งทำให้ผู้ที่ประสงค์จะไปขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร หรือผู้ที่ประสงค์จะทำการวิจัยพืชที่มีฤทธิ์เสพติดเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ขาดโอกาสในการสร้างคุณประโยชน์ ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้การพิจารณาเรื่องการแบ่งแยกกฎหมายโดยแยกกัญชา กัญชง กระท่อม ออกจากยาเสพติดชนิดอื่น พิจารณาแยกฐานความผิดจากกัญชาสด กัญชาแห้ง ผลิตภัณฑ์กัญชาแปรรูป แยกแยะประเภทและโทษ หรือพิจารณาโทษจากการนำไปใช้ ทั้งควรเปิดกว้างให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์โดยให้อยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษโทษ พ.ศ. 2522
Today, it is widely accepted in international medical industry that marijuana is a herb for treatment. It helps insomnia sleeping better, relieving pain, easing nausea and vomit, releasing stress, improving seizure disorder, and helps patients withcancer having a better life, especially from the side effects from chemotherapy andradiology. In addition, there is a laboratory research for marijuana abstract and cancer cell recorded by the National Center for Biotechnology Information, as well as shown in the world’s leading medical journal paper. This research paper is aimed to study and analyze problems and obstacles of patent protection for plants with addictive substance in Thailand to find solutions for the problems and obstacles. This is by the method of studying international laws and regulations including the Paris Convention for the Protection of Industrial Property (1979), the Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights, the Japanese Laws, and the India Laws, in comparison with Thai laws. The research found that the criteria used to apply for a patent protection in Thailand have many weaknesses or flaws making those who apply for a patent or do research about plants with addictive substance for medical use, lack opportunity for doing beneficial research. Therefore, the author would like to ask for consideration from involving authority to separate marijuana, hemp, and kratom (Mitragynine) from other addictive drugs. The penalty should be assessed from types of marijuana whether it is fresh, dried or processed marijuana. Penalty should also be considered from the purpose of owning and using marijuana. Moreover, Thailand should be more open about the study and research of marijuana for medical use under control of the Narcotics Act B.E. 2522 (1979).
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: พืชสมุนไพร -- การคุ้มครอง
กัญชง -- การคุ้มครอง
กัญชา -- การคุ้มครอง
กระท่อม (พืช)
กัญชา -- การใช้รักษา
ยารักษามะเร็ง -- การพัฒนา
อุตสาหกรรมกัญชา
Advisor(s): วรรณวิภา พัวศิริ
กริชผกา บุญเฟื่อง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2879
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kanda_petl.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback