DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2737

Title: การรับรู้ด้านคุณภาพ ความพึงพอใจ และความตื่นตัวในการซื้อซ้ำ ในตลาดนัดกลางคืน กรณีศึกษาตลาดนัดรถไฟรัชดา
Other Titles: Perceived quality, satisfaction, and arousal to stimulate repeat shopping of night market customers: A case study of Rod Fai Market Ratchada, Bangkok
Authors: คเชนทร์ ด่านชัยวิจิตร
Keywords: การรับรู้ด้านคุณภาพ
ความพึงพอใจ
ความตื่นตัวในการซื้อซ้ำ
ตลาดนัดกลางคืน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การรับรู้ด้านคุณภาพ ความพึงพอใจ และความตื่นตัวในการซื้อซ้ำ ในตลาดนัดกลางคืน กรณีศึกษาตลาดนัดรถไฟรัชดา การศึกษาเชิงปริมาณด้วยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างและระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในแบบสอบถามคือลูกค้าตลาดนัดรถไฟรัชดา จำนวน 400 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก จากกลุ่มคนทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มาใช้บริการตลาดนัดรถไฟรัชดา แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น อัลฟ่า ครอนบัค ทั้งฉบับ 0.79 และได้ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุโดยโปรแกรม SPSS ผลสรุปการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 15 – 25 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีระดับการรับรู้ด้านคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีระดับความตื่นตัวในการซื้อสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับความตั้งใจกลับมาซื้อสินค้าซ้ำโดยรวมอยู่ในระดับสูง การทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ด้านคุณภาพ ความพึงพอใจ และความตื่นตัวในการซื้อสินค้า ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้าตลาดนัดรถไฟรัชดา ในระดับร้อยละ 73.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดคือ ความพึงพอใจ (Beta = .654) ตามดัวยการรับรู้ด้านคุณภาพ (Beta = .187) ส่วนตัวแปรอิสระที่มีผลน้อยที่สุดต่อความตั้งใจกลับมาซื้อสินค้าซ้ำคือ ความตื่นตัวในการซื้อสินค้า (Beta = .122)
This study aims to analyse the perceived quality, satisfaction, and shopping arousal that affects repurchase intention of Rod Fai Market Ratchada customers. The study is a quantitative study with a sample size equals to 400 survey respondents. The respondents are selected by the convenience sampling method. The research reliability has a Cronbach’s Alpha Coefficient equal to 0.79. The study was verified by the experts. Statistical tools used are the quantity, percentage, standard deviation. Hypothesis testing method used in the study is multiple regression by SPSS program. The result of the study found out that most survey respondents are female, age between 15 – 25 years, undergraduate degree, and have a job in a private company. The level of perceived quality and shopping arousal are medium, while satisfaction and repurchase intention are high. The hypothesis testing result is perceived quality, satisfaction, and shopping arousal affect repurchase intention of Rod Fai Market Ratchada customers at the percentage of 79 with significant of statistics at 0.05. The most influential variable is satisfaction (Beta = .654), followed by perceived quality (Beta = .654). The least influential variable is shopping arousal (Beta = .122).
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: ตลาดนัด
การตลาดเพื่อสังคม
ตลาด -- ไทย
Advisor(s): ภูเกริก บัวสอน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2737
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kashane_danc.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback