DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2709

Title: การเลือกเนื้อหาและการสร้างบทละครโทรทัศน์ในมุมมองของผู้ผลิตและผู้ชม
Other Titles: Content Selection and Television Drama Production in the Perspectives of Producers and Viewers
Authors: กษิดิ์เดช สุวรรณมาลี
Keywords: การเลือกเนื้อหา
การสร้าง
ละครโทรทัศน์
ผู้ผลิต
ผู้ชม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเลือกเนื้อหาและการสร้างบทละครโทรทัศน์ของผู้ผลิตละครโทรทัศน์ 2) เพื่อศึกษาทิศทางและเนื้อหาของละครโทรทัศน์ในอนาคต 3) เพื่อศึกษามุมมองของผู้ชมละครโทรทัศน์ในการรับชมละครโทรทัศน์ และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งธุรกิจบริษัทผลิตละครโทรทัศน์ รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 28 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้บริหารฝ่ายละครโทรทัศน์ ผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำละครโทรทัศน์ จำนวน 4 ท่าน และผู้รับสารซึ่งชื่นชอบในการรับชมละครโทรทัศน์ จำนวน 24 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเลือกเนื้อหาของผู้ผลิตละครโทรทัศน์จะเลือกจากพฤติกรรมของผู้รับชมละครและเลือกจากความสดใหม่ของเนื้อหา หรือเลือกเรื่องราวใกล้ตัว ซึ่งจะสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละสถานี 2) ละครโทรทัศน์ก็ยังจะคงอยู่คู่คนไทย แต่ถ้าหากเป็นละครเก่าคนดูอาจจะดูยากขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ทำให้พฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไป การทำละครเนื้อหาใหม่ๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด 3) ผู้ชมส่วนใหญ่รับชมละครโทรทัศน์เนื่องจากมีเวลาว่าง ต้องการผ่อนคลายความเครียด ส่วนใหญ่รับชมละครแนวดราม่าและละครแนวย้อนยุค โดยจะดูนักแสดงก่อน แล้วจึงดูเนื้อเรื่องของละครเรื่องนั้น ความบันเทิงและข้อคิดในการใช้ชีวิตเป็นสิ่งที่ผู้ชมได้รับจากการรับชมละคร ผู้ชมต้องการให้พัฒนาในเรื่องของบทละครให้มีความทันสมัย และต้องการให้พัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟิกให้มีความสมจริงยิ่งขึ้น 4) สถานีโทรทัศน์จะแบ่งงบประมาณออกเป็น 2 แบบ คือเหมาเงินทุนให้ผู้จัดโทรทัศน์กับสถานีผลิตละครเอง โดยงบประมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของละครโทรทัศน์เรื่องนั้นๆ การบริหารความเสี่ยงทุกปัญหาล้วนมาจากการทำงานในขั้นตอนเตรียมการผลิต (Pre-Production) โดยต้องมีวิธีจัดการ คือต้องรู้จักกลุ่มตลาดในอุตสาหกรรม สังคม เศรษฐกิจ ซึ่งทุกคนต้องตระหนักและมีทักษะในการบริหารความเสี่ยงพวกนี้
The objectives of this research were 1) To study how the contents of television dramas are selected and created. 2) To study the direction and content of future television dramas. 3) To study the viewpoints of television audiences. 4) To study the approach of establishing businesses which creates television dramas. The research was qualitative, we performed an in-depth interview of 28 volunteers, consisting of 4 individuals with backgrounds related to television and creating television dramas, and 24 individuals who enjoy watching television. The results showed that 1) How content creators select their content is based on the audience’s behavior, the freshness of the content, or how relatable the content is depending on the station’s target market. 2) Thai dramas will still stay with Thai television and its audience. However, various new technological advances are constantly introduced, changing the audience’s behavior, rendering old dramas difficult to watch in some cases. Because of this, creating dramas with newer, fresher content might be the optimal choice. 3) Most members of the audience watch television due to having a great amount of leisure and are in need of relaxation. The majority watches historical dramas and dramas with a sense of turmoil, while focusing on the characters over the plot. Entertainment and moral of the story are what people receive when watching television dramas. The audience wants the script to be modern and up-to-date, and for the computer graphics to be more cutting-edge. 4) The stations split their funds into 2, handing them over to the producer and the station itself. The amount of funding depends on the elements of that specific drama. How the station handles risks derives from the stage of pre-production; the method of dealing with said risks are to know the market within the industry, the community, and the economy, in which everyone must realize and develop skills to counter the problems.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การเขียนบทละคร
การเขียนบทโทรทัศน์
ละครโทรทัศน์ -- ไทย
บทละคร -- ไทย
Advisor(s): ธรรญธร ปัญญโสภณ
ปีเตอร์ กัน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2709
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kasidet_suwa.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback