DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2706

Title: การศึกษาแรงจูงใจ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวบ้านบางเขน
Other Titles: A study of motivations and satisfaction of Thai tourists visiting Baan Bang Khen
Authors: เมลดา ธนิตนนท์
Keywords: แรงจูงใจ
ความพึงพอใจ
นักท่องเที่ยว
บ้านบางเขน
ประชากรศาสตร์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง แรงจูงใจและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวบ้านบางเขน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ และเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจและความพึงพอใจในการมาเที่ยว โดยด้านแรงจูงใจนั้นแบ่งเป็นด้านปัจจัยผลัก (เหตุผล) และด้านปัจจัยดึงดูด และในด้านความพึงพอใจแบ่งตามองค์ประกอบของการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดการด้านคมนาคม และด้านการต้อนรับ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลโดยแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) ให้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบสะดวก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent T – Test และ One - Way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ 0.05 หากพบคู่ที่แตกต่างได้ทำการทดสอบหาความแตกต่างรายคู่ด้วยการวิเคราะห์ Post Hoc แบบ LSD ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 21 - 30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนมากเป็นนักเรียน - นิสิต - นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบแล้วพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจและความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันด้านเพศ อายุ และอาชีพ ให้ค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญของแรงจูงใจในการมาเที่ยวบ้านบางเขนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สำหรับด้านความพึงพอใจพบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันด้านอายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ให้ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจในการมาเที่ยวบ้านบางเขนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยสามารถนำไปช่วยปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเชิงถวิลหาให้สามารถนำเสนอรูปแบบการจัดแสดงและกิจกรรมให้แปลกใหม่น่าสนใจ รวมถึงปรับเพิ่มด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ และการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถนำไปเสนอแก่หน่วยงานที่ดูแลด้านการท่องเที่ยว เป็นประโยชน์ต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงถวิลหาที่อื่น ๆ หรือที่ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันกับบ้านบางเขน ให้สามารถนำเสนอในรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และนำไปสู่การดึงดูดให้มีการท่องเที่ยวรูปแบบดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น
The objectives of this study were to study demographic characteristics, to study motivations and satisfaction, and to compare the differences of demographic characteristics related to motivations and satisfaction of Thai tourists visiting Baan Bang Khen. The area of the motivations evaluation included push and pull factors; while the area of satisfaction included attraction, facilities, transportation management, and hospitality factors. The sample group of this study were 400 Thai tourists who had visited Baan Bang Khen. Data were collected by distributing questionnaires using convenience sampling method. As for data analysis; descriptive analysis included the analysis of percentage, mean, and standard deviation. The inferential statistics included Independent T - Test and One - Way ANOVA at statistical significance of 0.05; the data with significant result were tested once again using Least Significant Difference (LSD). The result showed that most of the sample group were female with age ranging from 21 to 30 years; most of them had single marital status. The level of education were Bachelor’s Degree; majority of them were students with income lower than 10,000 Baht per month. The overall motivations and satisfaction were at high level. According to the differences of demographic characteristics related to motivations, the study revealed that there were statistically significant difference in gender, age, and occupation at the level of 0.05. Regarding the differences of demographic characteristics related to satisfaction, the result revealed that age, marital status, occupation, and monthly income had statistically significant at the level of 0.05. These results can be used as a guidelines for improving products and services which would be useful for the company and government’s organizations whose work related to nostalgia tourism.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการทองเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวชาวไทย
ตลาดย้อนยุค
นักท่องเที่ยว -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การท่องเที่ยว -- การประชาสัมพันธ์ -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
นักท่องเที่ยว -- ไทย -- การตัดสินใจ
Advisor(s): ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2706
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
melada_tani.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback