DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2581

Title: การรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ตรา ความไว้วางใจและความตั้งใจซื้อน้ำหอมทางออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Perceived Risks Affecting Perceived Brand Image, Trust and Intention to Purchase Perfume via Online of Consumers in Bangkok
Authors: ธิระดา บัณฑรวรรณ
Keywords: การรับรู้ความเสี่ยง
น้ำหอมออนไลน์
ความเชื่อมั่น
ภาพลักษณ์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา การตรวจสอบความสอดคล้องของการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ตรา ความไว้วางใจและความตั้งใจซื้อน้ำหอมทางออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ทำการวิจัยเชิงประจักษ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยซื้อน้ำหอมออนไลน์ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษา แสดงว่า สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมี ค่าไค– สแควร์ (x2) มีค่าเท่ากับ 17.74 , ค่าองศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 11 , ค่าไค–สแควร์สัมพัทธ์ (x2/df) มีค่าเท่ากับ 1.612 , ค่า p–value มีค่าเท่ากับ 0.08781, ค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.039 , ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกาลังสองของส่วนที่เหลือมาตรฐาน (SRMR) มีค่าเท่ากับ 0.016 ค่าความสอดคล้องของดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.016 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.9 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 นอกจากนี้ผลวิจัยยังพบว่า (1) การรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลทางบวกต่อภาพลักษณ์ในการซื้อน้ำหอมทางออนไลน์ (2) การรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลทางบวกต่อความเชื่อมั่นในการซื้อน้ำหอมทางออนไลน์ (3) ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อน้ำหอมทางออนไลน์ (4) ความเชื่อมั่นมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อน้ำหอมทางออนไลน์
The objective of this research was to study Perceived Risks Affecting Perceived Brand Image, Trust and Intention to Purchase Perfume via Online of Consumers in Bangkok. This study applied the quantitative survey approach. The structured questionnaire was used to collect data. Non-probability convenience sampling was applied to select sample group of 400 perfume consumers . Descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation were used and Structural Equation Modeling: SEM It was found that the model was consistent with the empirical data. Goodness of fit measures were found to be: Chi–square = 17.74 (df = 11, p–value = 0.08781); Relative Chi–square (x2/df) = 1.1612 ; Goodness of Fit Index (GFI) = 0.016; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.9; and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.039. It was also found that (1) Perceived Risks had a positive and direct influence on Perceived Brand Image to Purchase Perfume via Online; (2) Perceived Risks had a positive and direct influence on trust to Purchase Perfume via Online; (3) Perceived Brand Image had a positive and direct influence on Intention to Purchase Perfume via Online; (4) trust had a positive and direct influence on Intention to Purchase Perfume via Online.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: น้ำหอม
อุตสาหกรรมน้ำหอม
การจัดการผลิตภัณฑ์
การตลาดอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายสังคมออนไลน์
การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2581
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
tirada_bunt.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback