DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2529

Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: The Factors Positively Affecting Customer Loyalty of Credit Card Users in Pathum Thani Province
Authors: สุชาดา พิพัฒนธร
Keywords: พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต
ความจงรักภักดี
บรรทัดฐานทางสังคม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงบวกของปัจจัย วัตถุนิยม การซื้อแบบไร้เหตุผล พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต ประโยชน์ที่คาดหวังไว้ของบัตรเครดิต บรรทัดฐานทางสังคม การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม การรับรู้ประโยชน์ใช้สอย และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ที่มีต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มประชากรคือผู้ใช้บัตรเครดิตในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้บัตรเครดิตในจังหวัดปทุมธานีช่วงเดือนกันยายน 2559 จำนวน 230 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ประมาณ 20,001 – 30,000 บาท ส่วนมากใช้บัตรเครดิตธนาคารกสิกรไทย มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตประมาณ 10,001 – 30,000 บาทต่อเดือน ใช้บัตรเครดิตเนื่องจากสะดวกในการใช้งาน และใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการภายในห้างสรรพสินค้า ผลการทดสอบสมมุติฐาน ถ้าเรียงตามลำดับความสำคัญแล้วพบว่ามีเพียงปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ใช้สอยและปัจจัยบรรทัดฐานทางสังคม มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์เท่ากับ 0.322 และ 0.269 ตามลำดับ ที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตในจังหวัดปทุมธานี ถึงร้อยละ 44.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือนักการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตควรเน้นประโยชน์ใช้สอยและบรรทัดฐานทางสังคมในการสร้างความจงรักภักดีของผู้ใช้บัตรเครดิต
The researcher attempted to study the positive influence of materialism, compulsive buying, credit card use behavior, expected benefits of credit card, subjective norms, perceived behavioral control, perceived usefulness, and perceived ease of use affecting customer loyalty of credit card users in Pathum Thani province. The population were the credit card users in Pathum Thani. A sample of 230 credit card users in Pathum Thani was collected during September 2016. The researcher found that the most of the respondents responded to the questionnaires were females at the ages 26-30 years old, single status who graduated with the bachelor degree levels, having the average income of 20,001 - 30,000 baht per month. Most of them used Kasikornbank credit cards, having average expenses 10,001 - 30,000 Baht per month. They used credit card because of convenience and payment for goods and services at department stores. The survey questionnaire were used and analyzed using Multiple Regression Analysis. Only perceived usefulness (β=0.322) and subjective norms (β=0.269) explained 44.7% of the positive influence towards customer loyalty of credit card users in Pathum Thani at the significant level of .01. Credit cards’ owners and marketers should emphasize on perceived usefulness and subjective norms in building loyalty with credit card users.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): เพ็ญจิรา คันธวงศ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2529
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suchada_phip.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback