DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2482

Title: การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PROMPTPAY) ของรัฐบาลไทย
Other Titles: Innovation and Technology Acceptance, Technology Usage, and Customer Behavior Affecting People’s Intention to Use PromptPay Financial Service of Thai Government
Authors: พรชนก พลาบูลย์
Keywords: การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การใช้เทคโนโลยี
พฤติกรรมผู้บริโภค
ความตั้งใจ
บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PROMPTPAY) ของรัฐบาลไทย โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีความตั้งใจใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PROMPTPAY) ของรัฐบาลไทย ซึ่งพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 370 คน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-25 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอาชีพข้าราชการ มีรายได้ต่อเดือน 15,000 – 25,000 บาท และส่วนใหญ่รู้จักบริการพร้อมเพย์จาก TV ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน แรงจูงใจด้านอารมณ์ อิทธิพลของสังคม การรับรู้ถึงประโยชน์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ของรัฐบาลไทย ร้อยละ 69 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
The purpose of this research was to study innovation and technology acceptance, technology usage, and customer behavior affecting people’s intention to use PromptPay financial service of Thai government. Close-ended questionnaires were used to analyzed and passed the standards for the reliability and content validity of the data collection. The samples consisted of 370 people in Bangkok who intended to use PromtPay financial service of Thai government. Inferential statistics used in the hypothesis testing was multiple regression analysis. The results found that the majority of the respondents were female government officers, aged between 20-25 years old, and completed bachelor’s degrees. They earned an average monthly income of 15,000-25,000 baht. Most of them got information about PromptPay from TV commercial. In addition, the perceived ease of use, hedonic motivation, social influence, perceived usefulness, and facilitating conditions affected people’s intention to use PromptPay financial service of Thai government accounting for 69% with the statistical significant level of .05. However, the performance expectancy, anxiety ,and price value did not affect people’s intention to use PromptPay financial service of Thai government
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Subjects: การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต
Advisor(s): นิตนา ฐานิตธนกร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2482
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pornchanok_pala.pdf9.62 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback