DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2183
|
Title: | การสื่อสารความหมายผ่านรอยสักของวัยรุ่นไทย |
Other Titles: | Interpretation through thai teenagers' tattoos |
Authors: | สุธิดา แซ่อึ้ง |
Keywords: | การสื่อสารความหมาย รอยสัก คนในสังคม วัยรุ่นไทย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาถึงความหมายในการสื่อสารผ่านรอยสักของ
วัยรุ่นไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quanlitative Research) ใช้วิธีการวิจัยแบบการ
สัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ วัยรุ่นไทยที่มีรอย
สัก อายุ18 - 25 ปีจำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านความหมายในการสื่อสารผ่านรอยสัก
การสักสามารถแสดงออกถึงตัวตน อาชีพ และกลุ่มในสังคม โดยวัยรุ่นไทยคนหนึ่งอาจสักรอยสักที่มี
ความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย เช่น ความเป็นตนเอง การเตือนใจตนเอง ความชอบของตนเอง
ความทรงจำ การให้รางวัลกับตนเอง การให้กำลังใจตนเอง และการแสดงถึงความรัก โดยการให้ความหมายของรอยสักจะแตกต่างกันไปตามความชอบ ลักษณะการดำเนินชีวิต และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาของตนเอง 2) สำหรับด้านปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการสัก การประกอบอาชีพ
ไม่มีส่วนในการตัดสินใจสัก เป็นเพียงส่วนประกอบในการตัดสินใจเลือกงาน และการเปิดเผยรอยสัก
เท่านั้น วัยรุ่นตัดสินใจสักเพราะความชอบในเรื่องรอยสัก และตัดสินใจสักเพราะผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ เช่น
ครอบครัว เพื่อน นักร้อง โดยเลือกตำแหน่งการสักจากขนาดของลายสัก พื้นที่ที่เหมาะกับลายนั้น ๆ
ความต้องการเปิดเผย และการปกปิดรอยสักของตนเอง และการไม่สนใจมุมมองต่อสังคมของผู้ที่มี
รอยสักนั้น เป็นเพียงการไม่สนใจบุคคลในสังคมภายนอกเท่านั้น ซึ่งบุคคลที่มีอิทธิพลต่อผู้ที่มีรอยสัก
เช่น พ่อแม่ผู้ใหญ่ หรือที่ทำงาน ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ปกปิดรอยสัก และไม่สามารถเปิดเผยตัวตนของ
ตนเองออกมาได้ทั้งหมด The objective of this research is to study the meaning of communication
through Thai teenagers’ tattoos. This is the qualitative research. The research
instrument is an in-depth interview. The key informants were 6 teenagers whose ages
are between 18 – 25. The results of the study are as follows: 1) In terms of the
meaning of the tattoos, teenagers’ having tattoos show their identities, occupations,
and special groups. One teenager might have tattoos more than one place on their
bodies. Each tattoo has its own different meaning. 2) In terms of the factors affected
toward having tattoos, teenagers decided to have tattoos because they like the
styles of the tattoos. In addition, their families, friends, and singers have influence on
them whether they will have tattoos or not. They chose the places for having
tattoos depending on the sizes of the tattoos and if they want to show their tattoos
or not. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ(นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558 |
Advisor(s): | ธัญญลักษณ์ เอนกจำนงค์พร ธีรพล ภูรัต |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2183 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|