DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2181

Title: ความผิดอันยอมความไม่ได้ของกฎหมายสิทธิบัตร
Other Titles: Non compoundable criminal of patent law
Authors: อาณัติ จินดามณี
Keywords: ความผิดอันยอมความไม่ได้
กฎหมายสิทธิบัตร
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการให้กฎหมายสิทธิบัตรเป็นความผิดอันยอมความได้ซึ่งกฎหมายสิทธิบัตรฉบับนี้ในปัจจุบันวางอยู่บนทฤษฎีการผูกขาด (Theory of Monopoly) ที่เชื่อว่าการให้สิทธิผูกขาดในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้น และเปิด เผยการประดิษฐ์ต่อสาธารณะแต่ในความเป็นจริงนั้นแนวคิดข้างต้นกลับกลายเป็นการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าของสิทธิอย่างไม่จบสิ้น และไม่เกิดประโยชน์แก่รัฐและสังคมแต่อย่างใด กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามีลักษณะความผิดทั้งประเภทความผิดต่อส่วนตัว และความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ มีผลกระทบต่อสังคมที่แตกต่างกัน โดยความผิดอาญาแผ่นดินเป็นความผิดที่มีผลกระทบต่อรัฐและสังคมส่วนรวมโดยตรง กฎหมายจึงถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหาย แต่ความผิดต่อส่วนตัวนั้นเป็นความเสียหายต่อผู้เสียหายโดยตรง ไม่มีผลกระทบต่อรัฐและสังคมส่วนรวมและในที่นี้ผู้วิจัยจะศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตรซึ่งถูกกำหนดให้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ทั้งที่ส่วนใหญ่เป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนซึ่งไม่มีผลกระทบต่อรัฐและสังคมส่วนรวม แต่เหตุใดกฎหมายสิทธิบัตรจึงถูกกำหนดให้เป็นความผิดอาญาแผ่นดินซึ่งที่ผ่านมาผู้ทรงสิทธิใช้สิทธิตามกฎหมายสิทธิบัตรไม่เป็นไปตามคุณธรรมทางกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายและสร้างความไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา ทั้งในด้านบทบัญญัติของกฎหมาย ที่บัญญัติในเรื่ององค์ประกอบความผิดทางอาญาของการละเมิดสิทธิบัตรที่ซับซ้อน คลุมเครือไม่ชัดเจน และการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหาในตัวผลิตภัณฑ์ที่ถูกหาว่าละเมิดสิทธิบัตรหรือไม่นั้น ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งรัฐยังขาดแคลน และการะบวนการพิจารณาคดีที่ล่าช้าไม่เป็นธรรมกับคู่กรณี ดังข้างต้น ผู้วิจัยมีความเห็นว่าทั้งกฎหมายสิทธิบัตรและกฎหมายอาญาทั่วไปนั้นมีคุณธรรมทางกฎหมายและเจตนารมณ์ที่ต่างกัน กล่าวคือบทบัญญัติของกฎหมายอาญาทั่วไปนั้นมีเจตนารมณ์เพื่อข่มขู่มิให้ผู้ใดกระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือข่มขู่มิให้ผู้กระทำความผิดรายเดิมกระทำเช่นนั้นซ้ำอีก เพื่อความปลอดภัยของผู้อื่นในสังคมโดยรวม ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษหนักเบาแตกต่างกันไปตามพฤติการณ์และโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่กฎหมายสิทธิบัตรนั้นเป็นเรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชนที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลัก สมควรหรือไม่ที่จะให้รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมเป็น เครื่องมือให้ผู้ทรงสิทธิใช้สิทธิที่ไม่สุจริตนั้น แทนที่จะเกิดความยุติธรรมแก่ประชาชนและสังคมกลับกลายเป็นการให้ประโยชน์แก่เจ้าของสิทธิบัตรเพียงฝ่ายเดียวในการ ข่มขู่ ต่อรอง เรียกร้องประโยชน์ทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมและผูกขาดทางการค้า ฉะนั้นเจตนารมณ์ของกฎหมายและคุณธรรมทางกฎหมายจึงแตกต่างกัน อีกทั้งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในลักษณะความผิดตามกฎหมายสิทธิบัตรที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินนั้นเป็นเรื่องระหว่างเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญากับเอกชนทั่วไป แต่เมื่อคดีสิทธิบัตรจะต้องผ่านกระบวนการของตำรวจ อัยการ ซึ่งเป็นทรัพยากรสาธารณะของประเทศ และการ ที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องให้แก่บริษัทเอกชนหรือบริษัทข้ามชาติ นั่นหมายความว่าเอกชนใช้รัฐในการแสวงหาประโยชน์ทางธุรกิจ และรัฐกำลังใช้ทรัพยากรสาธารณะไปกับการระงับข้อพิพาทของเอกชน ดังนั้น กฎหมายสิทธิบัตรของไทยที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินนั้น ยังคงเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ และยังคงมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ แม้โดยภาพรวมจะมีความสอดคล้องกับทริปส์แต่ก็ยังมีส่วนที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจจากการกำหนดโทษที่สูงกว่าทริปส์โดยเฉพาะการกำหนดโทษอาญาในคดีละเมิดสิทธิบัตรยาและพันธุ์พืช และแบบผังภูมิวงจรรวมทั้งที่ในทริปส์ไม่ได้กำหนดโทษทางอาญาไว้ และควรปรับปรุงแก้ไขอย่างใด หรือมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้ความผิดที่เกิดจากการละเมิดสิทธิบัตรเป็นความผิดต่อส่วนตัวที่ยอมความได้
This thesis is related to study on “the possibility to rule out that the patent law is not an offense which presently the intellectual property law topic, particularly put the patent on a Theory of Monopoly”. They believe that the sole rights in a short period will create a motivation for innovation and expose the invention to the public. In fact, this concept turns out to seek to benefit of the patentee endlessly. The intellectual property laws are both of privacy offence and public offence, which this two kind of offence has a different effect to social. The public offence is the guilt that affect directly to state and social. The act count as the state is the victim but privacy offence is affect directly to injured person, not affect to the state and social. The researcher will study about patent law which defines to be a criminal offence. Most is dispute between private which not have an effect to the state society. In this context, we will study on patent law which is defined as a public offence. The majority of the disputes between the private which does not affect the state and society. In the researcher opinions, both patent law and general criminal law were different in legal and moral ideologies. In the other words, the provisions of the general criminal law are intent to intimidate no one offender to life or intimidate no one offender reiteration for the safety of the people in society. The violator will be punished according to the different offense. Patent law is between private disputes about business benefit mainly. Hence, the spirit of law and moral law are different. A dispute occurred in a kind of patent law as a criminal offense between the intellectual property owners to private. When the patent goes through the process of police, prosecutor who is the public resources of the country. In this case, the attorney is a plaintiff to sue for private or multinationals which means private company use of the state to pursue business interests. For overall, it’s consistent. But it is not helpful to the creation of economic performance which impose a higher penalty especially imposed by the criminal. How should we resolve the problem? Or there is any possibility that the guilty of patent infringement is compoundable offences.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2181
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
arnat_jind.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback