DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1963

Title: การรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ (Eco Car) ของประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
Other Titles: Corporate Perception and Social Responsibility for Environment Leading to Eco Car Purchasing Decision by Population in Bangkok and Samut Prakan
Authors: จันทร พันธ์ภักดีวงษ์
Keywords: การรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
การทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อม
การตัดสินใจ
อีโคคาร์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ (Eco Car) ของประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชากรที่ใช้รถยนต์ทุกประเภทในจังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.735 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นคือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ Regression ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 15,001-25,000 บาท โดยเห็นว่ารถยนต์อีโคคาร์มีข้อดี คือ ประหยัดน้ำมัน ราคาถูก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวนมากที่สุดสามลำดับแรก โดย Nissan March เป็นรถยนต์อ๊โคคาร์ยี่ห้อแรกที่นึกถึง และรู้จัก Nissan March Toyota Yaris และ Suzuki Swift มากที่สุดสามลำดับแรก จากผลการทดสอบศึกษาพบว่า การรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การรับรู้ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อสังคม การรับรู้ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อเศรษฐกิจ การรับรู้ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อธุรกิจ และ การทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมของธุรกิจ ได้แก่ การจัดกิจกรรมทางสังคม การเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสังคมด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ (Eco Car) ของประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
This research was aimed at studying corporate perception and social responsibility for environment that leads to Eco Car Purchasing Decision by Population in Bangkok and Samut Prakan. The sample from Convenience Sampling technique was 400 of Bangkok and Samut Prakan’s population driving any type of cars. A research method was questionnaire with reliability of 0.735 Preliminary analysis was based on descriptive statistics: Percentage, Mean and Standard Deviation, and inferential statistics for testing hypotheses with significant level of 0.05 was Regression. The result of study shows that the majority of respondents were female, had the age of between 21 and 30 years old, held undergraduate degree, worked at private firms, and got the income of between 15,001 and 25,000 Baht. The respondents largely recognized three advantages of eco cars, mainly fuel saving, low price of that type of vehicles, and environmental friendliness respectively. Nissan March was the first model to think of, followed by Toyota Yaris and Suzuki Swift. The result also shows that, with significant level of 0.05, environmental perception, specifically environmental impacts to societies, economy and firms, as well as a firm’s social activities for environment, particularly social activities, publication/public relations of activities for environment and business operation conformance to environment result in eco car purchasing decision made by population in Bangkok and Samut Prakan.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1963
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Jantorn.panp.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback