DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1872

Title: การสื่อสารด้านการรณรงค์และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางสังคมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสินค้า ข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่
Other Titles: Communications campaign and the social values that affect the image of Rice Berry Rice
Authors: ภัทรสุฎา มณีพันธุ์
Keywords: การสื่อสาร
การรณรงค์
การเปลี่ยนแปลงค่านิยม
ภาพลักษณ์
ข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารด้านการรณรงค์ที่มีต่อภาพลักษณ์ของสินค้าข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางสังคมที่มีต่อภาพลักษณ์ของสินค้าข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้มาจากประชากรที่ อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงปริมาณคำนวณจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 400 คน ซึ่งแบ่งตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มจำแนกตามเพศและประสบการณ์การเคยและไม่เคยรับประทานข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ โดยมีเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 95% และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือสัมประสิทธ์ครอนแบ็ช อัลฟ่า (Cronbach’s Alpha Coefficient) ในการทดสอบสมมติฐานและสถิติเชิงอ้างอิง ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อบทบาทการรณรงค์ของข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสื่อที่ใช้ในการรณรงค์ที่มากที่สุดคือ การบอกต่อจากบุคคล เช่น ครอบครัว หรือเพื่อน ส่วนการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยมีการเปลี่ยน แปลงทางพฤติกรรมในด้านการซื้อข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่มารับประทานแทนข้าวแบบปกติธรรมดา ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าการสื่อสารด้านการรณรงค์และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางสังคมส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสินค้าข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ค่านิยมทางสังคมส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสินค้าข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่มากกว่าการสื่อสารด้านการรณรงค์
The objective of this study and analyze relationships between communication campaign on the image of Rice berries Rice and to analyze the relationship between changes in social values to the image of Rice berries Rice. The sample test in this study comes from the population in Bangkok using quantitative sampling 400 customers. Divided into two groups by gender and experience eat or never eat rice Berry Rice. The instrument was a questionnaire with the reliability of 95% and has verified the accuracy of the content. The validity test was conducted by experts. Data were analyzed by descriptive statistics such as percentage, mean, and standard deviation. Inferential statistics used to test hypothesis was multiple regression analysis. The results of this study indicated that the respondents mostly were recognition role the campaign of rice Berry Rice. Media has been the most popular is word of mouth from family or friend. The mostly changing social values are Customer purchasing behavior to buy rice Berry Rice eats instead of white rice. The hypothesis testing found Communications campaign and the social values that affect the Image of rice Berry Rice difference was statistically significant at the 0.05 level. The social values affect the image of rice Berry Rice over than communications campaign.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): สุคนธ์ทิพย์ รัตนภูพันธ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1872
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
phatarasuda_mane.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback