DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1581

Title: การศึกษาการยอมรับและการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในการใช้บริการระบุตำแหน่ง (Location-based Services: LBS) ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Study of Impact of Technology Acceptance and Perceived Risk on User’s Trust Perception of Location-based Services in Bangkok
Authors: จิรภา รุ่งเรืองศักดิ์
Keywords: บริการระบุตำแหน่ง
การยอมรับเทคโนโลยี
การรับรู้ความเสี่ยง
ความไว้วางใจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในการใช้บริการระบุตำแหน่ง (Location-based Services: LBS) ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในการใช้บริการระบุตำแหน่ง (Location-based Services: LBS)ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทดสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและความน่าเชื่อถือด้วยวิธีของครอนบาร์คกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้ระดับความเชื่อมั่น 0.895 และแจกกับกลุ่มผู้ใช้บริการระบุตำแหน่ง (Location-based Services: LBS) ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน โดยวิธีการทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่าการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ (Perceived Usefulness) และด้านการรับรู้ถึงขั้นตอนการใช้งานที่ง่าย (Perceived Ease of Use) ส่งผลทางบวกต่อความไว้วางใจในการใช้บริการระบุตำแหน่ง (Location-based Services: LBS)ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร และการรับรู้ความเสี่ยง(Perceived Risk) ด้านความปลอดภัยและด้านข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการส่งผลทางลบต่อความไว้วางใจในการใช้บริการระบุตำแหน่ง (Location-based Services: LBS)ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of this study are to study the impact of technology acceptance and perceived risk on user’s trust perception of Location-based services in Bangkok. The close-ended questionnaire was used to collect data and the content validity and Cronbach’s Alpha reliability tests were used in this study. The Cronbach’s Alpha reliability test was 0.895 from 30 participants contributions. Moreover, 400 participants, who are user’s of Location-based services in Bangkok, were asked to fill out questionnaire. The statistic methods were categorized into the descriptive and influential statistic methods. The influential statistics method was Multiple Regression Analysis. The result found that all factors of technology acceptance, perceived usefulness and perceived ease of use, influenced user’s trust perception. Moreover, all factors of perceived risk, safety and personal information, influenced user’s trust perception of Location-based services in Bangkok at 0.05 statisticallysignificant levels.
Description: การคนควาอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1581
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jirappa.rung.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback