DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1274

Title: การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติ และการยอมรับในเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้งานเครื่องเช็คอินด้วยตนเองอัตโนมัติของผู้โดยสารชาวไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Other Titles: The study of marketing mix, attitude and technology acceptance affecting Thai passenger decision making toward automatic self check-in kiosk at Suvarnabhumi airport
Authors: นวรัตน์ รัตนวานิช
Keywords: เครื่องเช็คอินด้วยตนเองอัตโนมัติ
การยอมรับในเทคโนโลยี
ส่วนประสมทางการตลาด
ทัศนคติ
การตัดสินใจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติ และการยอมรับในเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้งานเครื่องเช็คอินด้วยตนเองอัตโนมัติของผู้โดยสารชาวไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติ และการยอมรับในเทคโนโลยี ของผู้โดยสารชาวไทยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้งานเครื่องเช็คอินด้วยตนเองอัตโนมัติ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตัวแปรต้นคือ ส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติ และการยอมรับในเทคโนโลยี ตัวแปรตามคือ การตัดสินใจใช้งานเครื่องเช็คอินด้วยตนเองอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้โดยสารชาวไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) ในการแจกแบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ได้จัดเตรียมไว้ วิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 18-30 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี และประกอบอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือนที่ 20,001 - 30,000 บาท โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมเช็คอินที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบิน และส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามจะตัดสินใจเลือกวิธีเช็คอินด้วยตนเอง และส่วนใหญ่ไม่เคยใช้งานเครื่องเช็คอินด้วยตนเองอัตโนมัติ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก ปัจจัยด้านทัศนคติ โดยรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก และปัจจัยด้านการยอมรับในเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้งานเครื่องเช็คอินด้วยตนเองอัตโนมัติของผู้โดยสารชาวไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
The purpose of this study are to study marketing mix factor, attitude, and technology acceptance of Thai passenger decision making toward automatic self check-in kiosk at suvarnabhumi airport. The dependent variables are marketing mix, attitude, and technology acceptance. The independent variable is decision making toward automatic self check-in kiosk. The sample consisted of 400 Thai passengers at suvarnabhumi airport who are more than 18 years old. Data is collected by using questionnaire via convenience sampling method. The statistical analysis methods are percentage, mean, standard deviation, and multiple regressions. The results found that most of the respondents are female, age between 18 – 30 years old. Their highest education is bachelor degree. Most of them are public servant/state enterprise employee and have average monthly income between 20,001 - 30,000 baths. Most of them usually check-in at airline counter check-in. Most of them making decision by themselves and most of them never used automatic self check-in kiosk. The overall of mean of marketing mix level is very important. The overall of mean of attitude level is the very important. The overall of mean of technology acceptance level is the very important. The hypothesis testing found that marketing mix affecting Thai Passengers’ Decision Making toward Automatic Self Check-in Kiosk at Suvarnabhumi Airport at the statistical significant level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ(บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): ชุติมาวดี ทองจีน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1274
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
navarat.rata.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback