DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1188

Title: การศึกษาวัฒนธรรมองค์กร การทำงานร่วมกันเป็นทีม และการติดต่อสื่อสารที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา เขตบางพลี จังหวัด สมุทรปราการ
Other Titles: A Study of Organizational Culture, Teamwork and Communications Affecting Organizational Commitment : A Case Study of Bang Phli,
Authors: มธุรส วิไลลัษณ์
Keywords: วัฒนธรรมองค์กร
การทำงานเป็นทีม
การติดต่อสื่อสาร
ความผูกพันต่อองค์กร
พนักงานระดับปฏิบัติการ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และทดสอบความตรงของเนื้อหาและความน่าเชื่อถือด้วยวิธีของครอนบาร์คกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คนได้ระดับความเชื่อมั่น 0.959 ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานเป็นทีม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการวัดความผูกพันในองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่ออธิบายถึงอิทธิพลของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรพบว่าตัวแปรด้านวิสัยทัศน์และความเข้าใจในองค์กร ตัวแปรด้านการระดมความคิดเห็น ตัวแปรด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และตัวแปรด้านประสิทธิภาพในการสื่อสารในองค์กร มีอิทธิพลทางบวกต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้บางส่วน เพราะตัวแปรที่มีอิทธิพลทางบวกต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรจากการทดสอบตัวแปร 8 ตัวแปร พบว่ามีเพียง 4 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางบวกและสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับความผูกพันต่อองค์กรได้ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 66.2
In this study, a quantitative method was conducted by survey research with the purpose to study and determine the factors that affect the level of organizational commitment in Bang Phli, Samut Prakan. Samples were obtained by convenience sampling with the amount of 400 responses and Cronbach's Alpha reliability tests were used in this study. The Cronbach's Alpha reliability tests was 0.959 from 30 participants contributions. The results showed their attitudes toward organizational culture it was found that all factors have averages of their also at high level. The hypothesis tests are to explain the influence of their attitudes toward each factors which affect organizational commitment. The results showed all variables, vision and understanding of the organization, brainstorming, success of the performance and the communication efficiency within the organization have positive relations with the level of organizational commitment significantly at the 0.05 level and partially accord to the hypothesis settings. The variables that have a positive influence on the level of organizational commitment from 8 variables that have been tested, only 4 variables that have a positive influence which could explain the variation in the level of organizational commitment that could explain the variation in the level of commitment to the organization by 66.2 percent.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1188
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
maturos.vila.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback