DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1186

Title: ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์: กรณีศึกษากรมกำลังพลทหารบก
Other Titles: Desirable Administrative Leadership: A Case Study of the Directorate of Personnel
Authors: พิจักษณา วงศาโรจน์
Keywords: คุณลักษณะของผู้บริหาร
ทัศนคติของผู้บริหาร
หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร
ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์
กรมกำลังพลทหารบก
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์: กรณีศึกษากรมกำลังพลทหารบก ตัวแปรต้นคือ ทัศนคติของผู้บริหาร หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร และคุณลักษณะของผู้บริหาร ตัวแปรตามคือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการทหารภายในกรมกำลังพลทหารบก จำนวน 186 นาย วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) โดยเริ่มจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) ในการแจกแบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ได้จัดเตรียมไว้ วิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 31 – 40 ปี เป็นข้าราชการทหารชั้นประทวน มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงานเป็นระยะเวลา 11 – 20 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท สำหรับระดับความคิดเห็นของข้าราชการทหารภายในกรมกำลังพลทหารบกที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์ ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) พบว่า ตัวแปรด้านทัศนคติของผู้บริหาร และด้านหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนคุณลักษณะของผู้บริหารไม่มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้าราชการทหารภายในกรมกำลังพลทหารบกให้ความสำคัญกับทัศนคติและการทำงานบนหลักธรรมาภิบาลของผู้บังคับบัญชา โดยไม่ได้พิจารณาการมีภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์จากคุณลักษณะของผู้บังคับบัญชา
The independent variables of this research included the administrators’ attitude, good governance, and traits. The dependent variable was the desirable administrator leadership. The samples in this study were 186 army officers in the Directorate of Personnel, selected by using the multi-stage random sampling method, starting with the purposive sampling and then the systematic random sampling. Questionnaires were used as the data collection tool. The statistical data analysis was conducted using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Multiple Regressions Analysis. Demographic data showed that most respondents were male, aged 31-40 years old, non-commissioned officers, had a bachelor’s degree, work experience of 11-20 years, and an average monthly income of THB10,001-20,000. The results from the hypothesis testing revealed that there was a impact the administrators’ attitude and good governance, and the desirable administrative leadership, at the statistical significance level of 0.05. However, there was no relationship between the administrators’ traits and the desirable administrative leadership, at the statistical significance level of 0.05. Therefore, it can be concluded that the officers in the Directorate of Personnel focused on their commanders’ attitude and good governance more than traits with regard to the desirable administrative leadership.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): ชุติมาวดี ทองจีน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1186
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pijuksana.vong.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback