DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1099

Title: แนวทางการคุ้มครองข้อมูลใน Big Data: ศึกษาประเด็นความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
Other Titles: Guideline for data protection in big data: Privacy and data security
Authors: ปิยะภัสร์ โรจน์รัตนวาณิชย์
Keywords: Big Data
ข้อมูลส่วนบุคคล
ความเป็นส่วนตัว
ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันโดยการสื่อสานผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการดำเนินการทางธุรกิจ ซึ่งในขณะนี้นวัตกรรมใหม่ที่มีความสำคัญและกำลังจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2014 นี้ ได้แก่ Big Data บริษัทขนาดใหญ่ของโลกที่ทรงอิทธิพลที่สุด คือ บริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Google, Apple และ Microsoft บริษัทผู้ให้บริการเหล่านี้มี Big Data ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากผู้ใช้บริการทั่วโลกส่งผ่านถึงกันตลอดเวลาในเครือข่ายทางสังคม ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกันทางเครือข่ายสังคมในขณะนี้ได้มีความสามารถในการสร้าง สื่อสาร แบ่งปัน และเข้าถึงข้อมูลกันอย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นนี้มีมูลค่ามากมหาศาลสำหรับเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสามารถถูกใช้เพื่อผลักดันนวัตกรรมใหม่ ๆ และการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บางเครือข่ายใช้ Big Data วิเคราะห์ข้อมูลโดยความต้องการเป็นมืออาชีพ ในขณะที่บางเครือข่ายใช้เพื่อความสะดวกสบาย ใช้วิเคราะห์แนวโน้มต่าง ๆ ของโลก จึงเป็นผลให้การใช้ Big Data นั้น มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว และความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ามีการละเมิดความเป็นส่วนตัวเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญที่สุดก็คือ การละเมิดความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้น หลักจากที่ได้ทำการศึกษากฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 รวมถึงร่างกฎหมายที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งก็คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ... จากการศึกษาพบว่ายังไม่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเป็นการเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัว รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของผู้ใช้บริการต่าง ๆ แม้ว่าจะมีการนำกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันไปใช้ในกรณีการละเมิดความเป็นส่วนตัวจากการใช้ Big Data ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้บัญญัติไว้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูลในกรณี Big Data ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าควรเร่งให้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีอยู่ในความครอบครองของภาคเอกชนเป็นการทั่วไป และเพื่อเป็นการวางมาตรการในเชิงป้องกันการละเมิดความเป็นส่วนตัวในข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัยของข้อมูล และเพื่อระบุถึงสิทธิหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Big Data ให้มีความชัดเจนแน่นอน ผู้เขียนเห็นว่าควรจะพยายามตีความกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ครอบคลุมมาถึงความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลกรณี Big Data ด้วย แล้วอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายดังกล่าวออกกฎหมายลำดับรองเพื่อวางแนวทางในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลกรณี Big Data เป็นการเฉพาะ
Nowadays, information technology of telecommunication via internet was being used widely in the business operation. Big Data was the new and important innovation in 2014. There were many social network sites or companies such as Google, Apple and Microsoft. These companies had a lot of Big Data that included personal information. In addition, increasing number of people, devices, and sensor that were now connected by social networks has revolutionized the ability to generate, communicate, share and access data. Data created enormous value for the world economy, driving innovation, productivity, efficiency and growth. Some networks targeted professional context while others primarily aimed at leisurely contact. Some network focused on text based interactions while others tended towards multimedia. Big Data caused many privacy and data security issues. The research indicated that there were several issues relating to the invasion of privacy of Big Data. One of the most important legal issues was the privacy of personal information. In case of Thailand, this research studied various laws relating to right of privacy. There were laws which were enforced including the following: Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550 (2007), the Criminal Code, the Civil and Commercial Code, the Official Information Act, B.E. 2540 (1997), the Electronic Transaction Act, B.E. 2544 (2001), the Credit Information Business Act, B.E. 2545 (2002) and the Computer-Related Crimes Act, B.E. 2550 (2007). Not only a study of currently enforceable laws, but this research also considered a bill on Personal Information Protection which was in process of passing into laws. The research found that there were no specific laws in recent Thai legal system to protect the private information and data security for Big Data. Although there were various laws which can be applied to the case of invasion of privacy from the utilization of Big Data, they are incomprehensive. The writer would like to recommend that a bill on Personal Information Protection should be enacted into enforceable law as soon as possible. Such a law should be supportive. Besides, this Personal Information Protection law should be applied to all technologies, including Big Data. Moreover, for the purpose of clarification it might therefore be necessary to provide detailed guidelines or codes of conduct on practical implementation of Big Data.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
วินิจฉัย แจ่มแจ้ง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1099
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
piyapas.rojr.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback