DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1078

Title: โครงการจัดตั้งสถาบันสอนทำอาหารเสริมพัฒนาการเด็ก
Other Titles: Establishment of Supplementary Food Institute for Child Development Project
Authors: ศิลี ปสิทธิปราณี
Keywords: สถาบันสอนทำอาหารเสริมพัฒนาการเด็ก
โภชนาการเด็ก
พัฒนาการเด็ก
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเฉพาะบุคคลเรื่อง “โครงการจัดตั้งสถาบันสอนทำอาหารเสริมพัฒนาการเด็ก” ฉบับนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนธุรกิจ และสำรวจความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสถาบันสอน ทำอาหารเสริมพัฒนาการเด็ก 2.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อสถาบันทำอาหารเสริมพัฒนาการเด็ก 3.)เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถาบันสอนทำอาหารเสริมพัฒนาการเด็ก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่มีอายุระหว่าง 4-12 ปี ที่เคยใช้บริการสอนทำอาหารสำหรับเด็กในพื้นที่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 162 ชุด เพื่อสำรวจความพึงพอใจในการใช้บริการสถาบัน ความเป็นไปได้ทางการตลาด และสถาบันสอนทำอาหารสำหรับเด็กเพื่อนำมาประมวลผลหาค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธุรกิจ ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อสถาบันสอนทำอาหารสำหรับเด็กมีทัศนคติในระดับเห็นด้วยมากที่สุด จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ บุคลากรในสถาบันมีความรู้ความเชี่ยวชาญ (ค่าเฉลี่ย 4.36) ภาพรวมของสถาบันสอนทำอาหาร (ค่าเฉลี่ย 4.28)สถานที่มีความสะอาดถูกหลักอนามัย (ค่าเฉลี่ย 4.25) และ4. การให้รายละเอียดในหลักสูตรมีความชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 4.24) ตามลำดับ สิ่งที่ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้รับจากสถาบัน 3 ลำดับที่ต้องการให้สถาบันส่งเสริมได้รับจากการใช้บริการ ความรู้ทางโภชนาการเป็นอันดับที่ 1 พัฒนาการทางด้านร่างกายเป็นอันดับที่ 2 ทักษะทางการคำนวณเป็นอันดับที่ 3 สามารถขยายการเจริญเติบโตมีความต้องการมาก ดังนั้นจากการวิเคราะห์ ผู้ปกครองมีความสนใจในการส่งเสริมพัฒนาการ และความรู้ทางด้านโภชนาการให้กับบุตรหลาน จึงเห็นได้ว่าธุรกิจยังความต้องการ และมีช่องว่างในตลาดที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง จึงมีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธุรกิจขึ้น
In this independent study “Establishment of Supplementary Food Institute for Child Development Project”, the researcher decided to comprehend possibility of conducting a business plan and surveying the demand of the target group. The objectives of this study were: 1) to study customer’s behavior towards the Supplementary food Institute for Child Development; 2) to study satisfaction of customers towards the Supplementary food Institute for Child Development; and 3)to study and analyze possibility of stablishing the Supplementary food Institute for Child Development. This study employed qualitative research method by using an in-depth interview with 3 experts and quantitative research method by using sample group which were parents, whose children were between 4 and 12 years, who had used service of child culinary teaching in Bangkok area. The 162 sets of questionnaire were also applied to survey satisfaction in using service of the institute, marketing possibility and child culinary institute. The data gained was then evaluated to find the possibility mean in establishing the business. The result of the study found that satisfaction of parents towards the child culinary institute was in the most agreeable level in the 4 issues as follows: knowledgeable personnel (mean 4.36), overall image of culinary institute (mean 4.28), sanitary culinary institute (mean 4.25) and precise course orientation (mean 4.24), accordingly. The issues the parents wanted their children to learn from the institute were: 1) nutrition knowledge, 2) physical development, and 3) mathematical skills. The institute must also be eligible for extension to meet the increasing demand. Therefore, according to the analysis, the parents seemed to pay the attention to the growth and nutrition knowledge of their children. It can be seen that there were still a business opportunity and marketing gap that were not fulfilled. However, the possibility to establishing the business was wide-open.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): เกษม กรณ์เสรี
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1078
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
silee.pasi.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback