DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1067

Title: ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์: ศึกษากรณีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
Other Titles: Problems of copyright infringement in cinematographic works: The study of the use of modern technology to capture image and sound signal in cinema
Authors: พิเชฐ คุ้มพะเนียด
Keywords: แพร่เสียงแพร่ภาพ
ลิขสิทธิ์
ภาพยนตร์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์นับเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศไทย ภาพยนตร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์นั้นส่วนใหญ่กำลังฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ จึงเป็นเหตุให้ผู้กระทำความผิดมักจะเข้าไปลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์โดยมิได้รับอนุญาต โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการกระทำความผิด เช่น เทคโนโลยีที่เป็นอุปกรณ์ในการดักสัญญาณภาพและเสียง นอกจากนี้ผู้กระทำความผิดยังพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการอ้างข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อมิให้ตนต้องรับผิด จากการศึกษาถึงการให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์เมื่อมีการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ากฎหมายสหรัฐอเมริกามีแนวคิดในการออกกฎหมายที่มีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับความผิดที่เกิดจากการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์โดยมิได้รับอนุญาตขึ้น ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดให้การใช้อุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงในโรงภาพยนตร์เป็นความรับผิดอย่างเคร่งครัดแต่สำหรับประเทศไทยงานภาพยนตร์ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ให้การคุ้มครองเป็นกรณีทั่วไปผู้กระทำความผิดจึงมักจะหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการอ้างข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยบัญญัติเพิ่มเติมให้กฎหมายลิขสิทธิ์มีบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด โดยมีใจความว่า “ผู้ใดใช้เทคโนโลยีในการบันทึกภาพยนตร์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดในโรงภาพยนตร์โดยมิชอบ ให้ถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้” หากมีการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์โดยมิได้รับอนุญาตให้ถือว่ามีความผิดจึงต้องนำกฎหมายฉบับนี้มาบังคับใช้และจะต้องกำหนดลักษณะความผิดให้ชัดเจนและมีบทลงโทษที่เหมาะสม อีกทั้งมิให้นำเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์มาเป็นข้อต่อสู้ว่าการกระทำของตนไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
The issue of copyright infringement, particularly to the cinematographic work, has been a major concern and problem for the film industry in Thailand. With the growing sophistication of technology, it has led the offender to bootlegging movies in cinema without the consent-for instance, the use of audio and visual recorders. Nonetheless, the exception of copyright infringement is always asserted by the offender so as to avoid the liability. From the study on the protection of copyrighted cinematographic that being unauthorized recorded in foreign countries-such as the United States of America, it was founded that there is a specific section stipulating the prohibition on the use of audio and visual recording equipment in the cinema as well as strict offence upon such action. As applied to Thailand, cinematographic is specifically protected by the copyright Act B.E. 2537,however, it should be further stipulated the punishment provision as follows; “Any person who commits unauthorized film recording by any means shall be deemed liable under this Act” Therefore, it is of importance to amend the Copyright Act B.E. 2537 by stipulating that the unauthorized film recording in the theatre shall be subjected to strict liability thereby providing the explicit terms and conditions as well as the appropriate punishment provision. It should be further specified that the exception of copyright infringement could not be used to avoid the liability.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): วรรณวิภา พัวศิริ
ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1067
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Pichet.kump.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback