DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1042

Title: การบริหารจัดการสิทธิในสิทธิบัตร กรณีถือสิทธิร่วมกันในนวัตกรรมแบบเปิด
Other Titles: The rights management of joint ownership patent in open innovation concept
Authors: นลินี โตงาม
Keywords: สิทธิบัตร
การบริหารจัดการสิทธิ
ถือสิทธิร่วมกัน
นวัตกรรมแบบเปิด
Patent
The Rights Management
Joint Ownership
Open Innovation
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาถึงความสำคัญในด้านนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ว่ากำลังเป็นที่นิยมในประเทศที่พัฒนาแล้ว และชี้ให้เห็นว่าควรมีการผลักดันให้มีนวัตกรรมแบบเปิดในประเทศไทยโดยเร็ว และเมื่อนวัตกรรมแบบเปิดเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบแล้ว จึงควรที่จะมีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองในการบริหารจัดการสิทธิด้านนวัตกรรมแบบเปิดไว้เป็นการเฉพาะ เมื่อนวัตกรรมแบบเปิดนั้นเกิดขึ้นโดยความคิดความสร้างสรรค์จากหลายฝ่ายรวมกัน ความคุ้มครองที่ได้รับนั้นจึงทำได้โดยการจดสิทธิบัตร และเมื่อมีผู้ถือสิทธิในสิทธิบัตรร่วมกันหลายรายในกรณีที่นวัตกรรมแบบเปิดเข้าสู่ประเทศไทยแล้ว จึงควรพิจารณาว่ากฎหมายสิทธิบัตรไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอที่จะรองรับนวัตกรรมแบบเปิดมากน้อยเพียงใด และควรจะมีความคุ้มครองให้กับผู้ที่ถือสิทธิร่วมกันอย่างไร ซึ่งผู้เขียนได้นำพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องห้างหุ้นส่วน-บริษัท กฎหมายภายในของประเทศอังกฤษ และความตกลงระหว่างประเทศ TRIPS Agreement มาใช้พิจารณาว่าควรมีการเสนอแนะ ปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายไทยอย่างไรที่จะให้ประเทศไทยเตรียมพร้อมที่จะรับกับนวัตกรรมแบบเปิด เพื่อที่ประเทศไทยจะได้ก้าวทันประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจไทยก้าวไกลในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
This Independent Study is aimed to draw readers’ attention to the importance of open innovation, which has become well-known in developed countries, and suggests that open innovation should be promptly encouraged in Thailand. When open innovation is fully utilized in Thailand, it is necessary to enact specific provisions to protect rights management for open innovation. Open innovation is a result of innovations created by more than one individual. Hence, the given protection can be acquired through patent registration. When Thailand embraces open innovation, there might be an issue in case of multiple co-owners of a patent of such open innovation. It is therefore vital to consider whether the current patent law of Thailand is sufficient to protect open innovations, and how to provide patent protection to multiple co-owners. The Writer’s analysis is based upon Thai Patent Act B.E. 2522, Thai Civil and Commercial Code Section Partnership and Company, domestic English laws and The Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPS Agreement). In this Independent Study, the Writer provides suggestions on how to propose an amendment of Thai current laws in preparation for open innovation to enable Thailand to catch up with the trend in developed countries and to steer Thailand towards economic success in ASEAN Economic Community.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
ใจรัก เอื้อชูเกียรติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1042
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nalinee.tong.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback