DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1035

Title: อิทธิพลของการใช้ตัวการ์ตูนบนหีบห่อผลิตภัณฑ์ต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ
Other Titles: Influence of using cartoon characters for product packaging on consumers’ purchase decision in bangkok, Case study of toilet paper
Authors: วรกุล งามไกวัล
Keywords: พรีเซนเตอร์
กระดาษชำระ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของทัศนคติที่มีต่อพรีเซ็นเตอร์ตัวการ์ตูน และ การตระหนักรู้ในตราสินค้าที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นตัวการ์ตูน โดยการเลือก ผลิตภัณฑ์ที่คนทั่วไปใช้อยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวันนั่นคือ กระดาษชำระ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ประชากรทั่วไปซึ่งเคยซื้อหรือเคยใช้ผลิตภัณฑ์ กระดาษชำระในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก โดยการใช้ เครื่องมือคือแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามนั้นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ที่มีช่วงอายุระหว่าง 26ปี ถึง 35 ปี รายได้อยู่ในช่วง 10,000-15,000 บาท อาชีพ พนักงานเอกชน มีทัศนคติเกี่ยวกับผู้นำเสนอ สินค้าที่เป็นตัวการ์ตูนบนหีบห่อผลิตภัณฑ์กระดาษชำระว่ามีความเหมาะสม สินค้าประเภทอื่นที่ไม่ใช่ ผลิตภัณฑ์กระดาษชำระที่มีผู้นำเสนอสินค้าเป็นตัวการ์ตูนที่ชอบ มีความสนใจบางชิ้น ความสนใจต่อผู้ นำเสนอสินค้าที่เป็นตัวการ์ตูนบนหีบห่อผลิตภัณฑ์ที่ชอบมากนั้นมีความสนใจมากเป็นพิเศษ ประเภท สินค้าที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จำได้ คือ ของใช้ทั่วไป และมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่มีตัว การ์ตูนบนหีบห่อมากกว่าไม่มีตัวการ์ตูน เมื่อพิจารณาถึงการตัดสินใจซื้อ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คิดว่า ผู้นำเสนอสินค้าเป็นตัวการ์ตูนทำให้เกิดความน่าสนใจในตัวสินค้า ในความพึงพอใจระดับมาก ส่วนมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ, ทำให้เกิดความอยากทดลองใช้สินค้า, ทำให้เกิดความภูมิใจในสินค้าที่ใช้ อยู่, ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในตัวสินค้า, ภาพตัวการ์ตูนบนบรรจุภัณฑ์สวยงามมีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อและภาพลักษณ์ของตัวการ์ตูนมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานนั้นพบว่าทัศนคติต่อพรีเซ็นเตอร์ตัวการ์ตูนมีความสัมพันธ์กันกับ การตัดสินใจซื้อ เมื่อทัศนคติมีการเปลี่ยนแปลงทำให้การตัดสินใจซื้อเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การ ตระหนักรู้ในตราสินค้า ทัศนคติต่อพรีเซ็นเตอร์ตัวการ์ตูนกับการตระหนักรู้นั้นไม่มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
This research aims at investigating the influence of opinion toward cartoon characters illustration and awareness of product brands on the purchase decision to choose products used on a daily basis: toilet paper. The samples used in this study were a 400 people who purchased or used toilet paper, using the Convenience Sampling method. A questionnaire was used to collect the data. The statistics used in the analysis were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, and Simple Regression Analysis. The results showed that the respondents were mostly females ranging from 26 to 35 years old, who earn 10,000 - 15,000 baht per month, private company employees, who judged that using cartoon characters on toilet paper packaging was appropriate. Some non-toilet paper products using cartoon characters also attracted their attention. Product packaging with cartoon characters showed to be especially attractive. The types of product that most respondents recognized to be commonly interested in were products with cartoon characters on the packaging, before the type of product without cartoon characters. When considering the buying decision, most respondents judged that cartoon characters presentation made the products interesting at a high satisfaction level. The factors affecting purchase decisions were: interest, pride, reliability; the cartoon characters on the packaging influenced the purchase decisions and brand image at a moderate satisfaction level. The hypothesis testing results showed that opinions toward cartoon characters presenters were associated with the purchase decision. When the opinions varied, the purchase decision also changed, while brand awareness was not related with cartoon characters illustrations, with a statistical significance at level 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาลัยกรุงเทพ,2556
Advisor(s): ตรีทิพ บุญแย้ม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1035
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
vorakun_ngam.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback