DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/916

Title: แรงจูงใจและการรับรู้ความเครียดจากการทำงานที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานบริษัทแรงงานภายนอกที่ฏิบัติงาน ณ สำนักงานการบินไทย สาขาหลานหลวง
Other Titles: Work motivation and perception on work stress affecting determination to resign of outsourced staff at Thai Airways office Larnluang Branch
Authors: ปิยะนุช โสคติ
Keywords: พนักงานบริษัท
ความเครียดในการทำงาน
การลาออก
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการรับรู้ความเครียดจากการทำงานที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานและ 2) เพื่อศึกษา อิทธิพลของการรับรู้ความเครียดจากการทำงานที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานบริษัทแรงงานภายนอกแห่งหนึ่งที่ปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน การบินไทย สาขาหลานหลวง จานวน 98 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งด้านปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยพนักงานมีแรงจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงานมากที่สุด ตามด้วยด้าน ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านความรับผิดชอบ ส่วนการรับรู้ความเครียดจากการทำงานและ ความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 โดยแรงจูงใจที่เป็นปัจจัยจูงใจนั้นไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของ พนักงาน ส่วนแรงจูงใจที่เป็นปัจจัยค้ำจุนนั้นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ความเครียดจากการทำงานไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ ที่จะลาออกของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objective of the study was to study the influences of work motivation and perception on work stress of staff on their determination to resign. The sample group in this study was 98 outsourced employees who worked at the Thai Airways office, Larnluang Branch, selected by using purposive sampling method. Questionnaires were used as the data collection tool. The statistical data analysis was conducted by using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, and the inferential statistics including Multiple Regression Analysis. The result of the study showed that work motivation both in terms of motivator factors and hygiene factors was at a medium level. The highest motivation was success, followed by nature of work, and responsibilities. In addition, the perception on work stress and the determination to resign was also at a medium level. The hypothesis testing result revealed that work motivation had an influence on the employees’ determination to resign with a statistical significance of 0.05. More particularly, the motivator factors had no influence on the employees' determination to resign, while the hygiene factors did, with a statistical significance of 0.05. In addition, the perception on work stress did not have an influence on their determination to resign with a statistical significance of 0.05.
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: พนักงานบริษัท--ความพอใจในการทำงาน--วิจัย
พนักงานบริษัท--ความเครียดในการทำงาน--วิจัย
พนักงานบริษัท--การลาออก--วิจัย
คุณภาพชีวิตการทำงาน--วิจัย
ความพอใจในการทำงาน--วิจัย
ความเครียดในการทำงาน--วิจัย
Advisor(s): ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/916
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
piyanuch_soka.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback