DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/363

Title: ความพึงพอใจของลูกค้าต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการให้บริการของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนจันทน์
Authors: ปนัดดา นพศรี
Keywords: ความพึงพอใจของลูกค้า
ธนาคารทหารไทย
ลูกค้า
ความพึงพอใจ
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของลูกค้าต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการให้บริการ ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนจันทน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงระดับความพึง พอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ มีผลต่อความพึงพอใจด้านปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่เข้ามาใช้ บริการด้านต่าง ๆ กับทางธนาคาร จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานแบบมีพารามิเตอร์ ได้แก่ T-test (Independent –Samples) และ One -Way ANOVA ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี มี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001-30,000 บาท ผลการศึกษา ในด้านระดับความพึงพอใจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดโดยรวมและต่อปัจจัยย่อยต่าง ๆ ในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย ซึ่ง สามารถเรียงลำดับระดับความพึงพอใจในแต่ด้าน(เรียงตามคะแนนเฉลี่ย)ได้ดังนี้ 1) ด้านการสร้างและ นำเสนอลักษณะทางกายภาพ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านสถานที่ให้บริการ 4) ด้านกระบวนการ 5) ด้านผลิตภัณฑ์ 6) ด้านราคา 7) ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ข้อมูลด้าน ประชากรศาสตร์ มีผลต่อความพึงพอใจด้านปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มีดังนี้ 1) ด้านเพศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกันนั้นให้ระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนสมประสมทาง การตลาดโดยรวมไม่แตกต่างกัน 2) ด้านสถานภาพ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกัน นั้นให้ระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรส ให้ระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมามีสถานภาพโสด 3) ด้านอายุพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุแตกต่างกันนั้นให้ระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยกว่า และไม่เกิน 20 ปี ให้ระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ 31-40 ปี 4) ด้านการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาแตกต่างกันนั้นให้ระดับความพึงพอใจต่อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี การศึกษาระดับปริญญาตรีให้ระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือระดับการศึกษาอนุปริญญา/ ปวส. 5) ด้านอาชีพ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอาชีพแตกต่างกันนั้นให้ระดับความพึงพอใจต่อปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน ให้ระดับความพึงพอใจมากกว่าระดับการศึกษากลุ่มมอื่น ๆ และ 6) ด้านรายได้ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันนั้นให้ระดับความพึงพอใจต่อปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท ให้ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: ธนาคารและการธนาคาร--บริการลูกค้า--วิจัย
ธนาคารและการธนาคาร--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
การจัดการธนาคาร--วิจัย
การจัดการตลาด--วิจัย
การตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
ความพอใจของผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
ธนาคารทหารไทย--วิจัย
Advisor(s): สันติธร ภูริภักดี
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/363
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Panadda_nopa.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback