DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/345

Title: ภาพลักษณ์ประเทศไทยที่มีต่อทัศนคติของผู้บริโภคสิงคโปร์ต่อสินค้าไทย
Authors: ธัญธิดา โครุบล
Keywords: ภาพลักษณ์องค์การ
ผู้บริโภค
ทัศนคติ
สิงคโปร์
ความพอใจของผู้บริโภค
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องภาพลักษณ์ประเทศไทยที่มีต่อทัศนคติของผู้บริโภคสิงคโปร์ต่อสินค้าไทย คือ เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคสิงคโปร์ต่อภาพลักษณ์ประเทศไทย สินค้าไทย และศึกษาอิทธิพลของทัศนคติที่มีต่อภาพลักษณ์ประเทศไทยต่อสินค้าไทย รวมถึงศึกษาความแตกต่างในทัศนคติต่อภาพลักษณ์ประเทศไทยของผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ แตกต่างกัน โดยประชากรที่ใช้ใ้นการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริโภคสิงคโปร์ที่มีอายุระหว่าง 20-65 ปี จำนวนท้ั้งสิ้น 400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมาตรวัด ภาพลักษณ์ประเทศและทัศนคติของผู้บริโภคต่อสินค้าปรับปรุงมาจากงานวิจัยของ Papodopoulus (1993) ซึ่งวัดภาพลักษณ์ประเทศจาก 3 ด้านคือ ด้านการรับรู้ (Cognitive), ด้านความรู้สึก (Affective) และด้านการกระทำ (Conative) ดา้ นละ 3 ขอ้ วดั ทศั นคติของผบู้ ริโภคต่อสินคา้ จาก ความเชื่อต่อสินค้า (Product belief) 3 ข้อ และ การประเมินสินค้า (Product evaluation) 3 ขอ้ สถิติที่ ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test, F-test และค่าการถดถอย (Regression) ซึ่งความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของข้อมูลที่ได้จาก แบบสอบถาม ในส่วนของภาพลักษณ์ประเทศ มีค่า ครอนบาชอัลฟ่า เท่ากับ .77 และในส่วนของทัศนคติต่อสินค้าไทย มีค่าครอนบาชอัลฟ่า เท่ากับ .84 ในการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-29 ส่วนใหญ่มีรายไดเ้ ฉลี่ยต่อปีน้อยกวา่ 30,000 เหรียญ และพบว่า ระดับความเห็นด้วยของผู้บริโภคสิงคโปร์ต่อภาพลักษณ์ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.20 คือระดับปานกลาง ส่วนทัศนคติต่อสินค้าไทยมีค่าเฉลี่ยระดับความเห็นด้วยโดยรวม เท่ากับ 3.26 คือระดับปานกลาง สมมติฐานที่ 1 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคที่แตกต่างกันัมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์ประเทศแตกต่าง ได้รับการยืนยัน โดยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ .05 และสมมติฐานที่ 2 ภาพลักษณ์ประเทศมีอิทธิพลกับทัศนคติของผู้บริโภคต่อสินค้าไทยในเชิงบวก ก็ได้รับการยืนยัน เช่นกัน โดยการทดสอบการถดถอยเชิงเส้น พบวา่ มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: ภาพลักษณ์องค์การ--ไทย--สารนิพนธ์
ผู้บริโภค--ทัศนคติ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริโภค--สิงคโปร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจของผู้บริโภค--สิงคโปร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): วีระพงศ์ มาลัย
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/345
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
thantida_kolu.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback