DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/941

Title: แนวความคิดเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : ศึกษากรณีเฉพาะสินค้าลอกเลียนแบบ
Other Titles: The concept of internet service provider (ISP) liability of webmaster : a case study of counterfeit goods
Authors: อริศรา ธนะสิทธิชัย
Keywords: ความรับผิดทางแพ่ง
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สินค้าลอกเลียน
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Abstract: การศึกษาเรื่อง “แนวความคิดเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ให้บริการประเภทเว็บไซต์ของ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: ศึกษาเฉพาะกรณีสินค้าลอกเลียนแบบ” มีความมุ่งหมาย ที่จะศึกษาถึงความจำเป็นที่จะกำหนดหน้าที่ความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเภท เว็บไซต์ เพื่อที่จะให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเภทเว็บไซต์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ป้องกันการกระทำละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้ใช้บริการของเว็บไซต์ที่มักจะนำสินค้าปลอมแปลง นำมาขายบนเว็บไซต์ โดยที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเภทเว็บไซต์ไม่มีความรับผิดใดๆต่อ เจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายอันเกิดขึ้นจากการใช้เครือข่าย ของผู้ให้บริการเว็บไซต์ ดังนั้นในสารนิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และความ รับผิดของผู้ให้บริการเว็บไซต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อวิเคราะห์หาความรับผิดแก่ผู้ ให้บริการเว็บไซต์อันเนื่องมาจาความผิดที่เกิดขึ้นในขอบเขตการให้บริการของผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตประเภทเว็บไซต์ รวมถึงทำการศึกษากฎหมายของประเทศไทยว่ามีความเพียง พอที่จะให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อ กำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดหน้าที่ และความรับผิดให้แก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ประเภทเว็บไซต์ในประเทศไทยต่อไป ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เนื่องจากปัจจุบันการนำตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงซึ่งเป็น ผู้ใช้บริการของเว็บไซต์ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้บริการของเว็บไซต์มักจะทำการขายสินค้าที่ละเมิด เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะป็นสินค้าปลอมแปลง เพื่อที่นำมาลงโทษยังติดขัดด้วยปัญหา หลายประการทั้งตามกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการ นำผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเภทเว็บไซต์ (Webmaster) ซึ่งเป็นผู้ที่ย่อมรู้เห็นถึงการกระทำ ละเมิดของผู้ใช้บริการของเว็บไซต์ เพราะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตโดยตรงเข้า มาร่วมรับผิดชอบในความผิดที่เกิดขึ้นร่วมกับผู้ใช้บริการของเว็บไซต์ด้วย ซึ่งอาจจำแนกแนวคิด ทฤษฎี และความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเภทเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องออกได้ 4 ประเภท คือ 1. ความรับผิดร่วมกันในการกระทำความผิดของผู้อื่น (Contributory Liability) 2. ความรับผิดในการกระทำละเมิดของผู้อื่น (Vicarious Liability) 3. ความรับผิดในเครื่องหมาย การค้าในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย (Manufacturer and Distributor Relationships) 4. ความรับผิดในเครื่องหมายการค้าในความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของพื้นที่ให้เช่า และผู้เช่า (Landlord Relationships) โดยแนวความคิด ทฤษฎี และความรับผิดของผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตประเภทเว็บไซต์เหล่านี้จะนำไปสู่หลักการกำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ ให้บริการ สำหรับประเทศไทย จากการวิจัยนี้ พบว่ากฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ละเมิดเครื่องหมายการค้าของไทย ไม่มีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของสิทธิอย่าง เพียงพอ และไม่ชัดเจน ดังนั้น ข้อเสนอแนะที่ได้ในสารนิพนธ์ก็คือ การกำหนดหน้าที่ ความรับ ผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเภทเว็บไซต์ให้ชัดเจน กล่าวคือให้มีหน้าที่ในการถอดถอน หรือระงับการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นการกระทำละเมิดเครื่องหมายการค้า หรือออกกฎหมายเฉพาะที่ นำมาเพื่อใช้ในการกำหนดลักษณะถือว่าเป็นการกระทำความผิด หน้าที่ ความรับผิด และบท กำหนดโทษแก่ผู้ให้บริการประเภทเว็บไซต์ที่รู้ หรือมีเหตุควรรู้ถึงการกระทำอันเป็นการละเมิด ต่อเครื่องหมายการค้าในพื้นที่ให้บริการของเว็บไซต์
The study of ‘The Concept of the Internet Service Provider (ISP) Liability: A Case Study of Counterfeit Goods’ is to take into account on the responsibility of ISP in order to get cooperation from all ISP in preventing the infringement of intellectual property from users; especially trademark infringement. Due to the fact that ISP has ignored the responsibility from allowing users to sell counterfeit goods on websites, this study then has been focused on the concept, theory and the responsibility of ISP in the United States of America with the aim of analyzing the ISP liabilities. The study has also been emphasized on the effectiveness of trade mark protection law in Thailand as well as the decrease in damage happened from the use of service provided. It is hoped that ISP will gain benefits from understanding their responsibilities and rights in providing service to users. From the study, it has been shown there are some barriers in adjective law and substantive law in punishing offenders from selling counterfeit goods through the website. Therefore, it has brought about the contribute liability between users and ISP who is the one who gain advantages from the action in users. The concept, theory and liability of ISP have been divided into 4 types. The first one is Contributory Liability. The second one is Vicarious Liability. The third one is the Trademark Liability of Manufacturer and Distributor Relationships and the last one is the Trade Mark Liability of Landlord and Talent Relationships. It is assured that these theories will enhance the understanding ISP responsibility and liability. In Thailand, it has been found that there are many trademark laws that protecting the infringement; however, there is not enough clear provision for owner rights. Accordingly, the suggestion in this study would be to create vivid responsibility and liability for ISP. In another word, clear responsibility and liability has been enhanced the limit of information access of trade mark infringement in users and ISP.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2551
Subjects: พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องหมายการค้า -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ความรับผิด (กฎหมาย) -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
ตุล เมฆยงค์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/941
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
arisara_than.pdf925.8 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback