DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/935

Title: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ
Other Titles: Legal measures of personal data protection for e-Government
Authors: สัญญา วิริยะอมรพันธุ์
Keywords: การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในภาคเอกชน ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมต่าง ๆ บนโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากผลลัพธ์ดังกล่าวซึ่งได้ส่งผลกระทบในด้านลบด้วย โดยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เกิดการกระทำความผิดในรูปแบบใหม่ คือ การกระทำความผิดโดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อทำลายข้อมูลหรือขโมยข้อมูลไปใช้ในทางทุจริต ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นกับภาคเอกชนและส่งผลกระทบในวงกว้าง ขณะที่ในปัจจุบันภาครัฐของประเทศไทยได้มีการนำการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐและให้บริการกับประชาชนหรือที่เรียกว่า “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” ได้ไม่นาน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ดีพอ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐเป็นผู้มีอำนาจในการเก็บข้อมูลที่สำคัญของบุคคล ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องพัฒนากลไกการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัยและเป็นสากลเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับภาครัฐซึ่งมีความแตกต่างจากการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ทั้งนี้ สืบเนื่องจากในปัจจุบันปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐในประเทศไทยยังไม่ปรากฎข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาได้ อีกทั้งในทางปฏิบัติเป็นการยากที่หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยถึงข้อผิดพลาดและความเสียหายในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนมาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยละเอียด เพราะหากแม้มีกรณีที่เกิดขึ้นจริง การเปิดเผยถึงข้อผิดพลาดในมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลอื่นของหน่วยงานรัฐ อาจส่งผลกระทบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องรวมถึงหน่วยงานและอาจทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานเสื่อมเสียซึ่งอาจทำให้ความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนลดลง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดมาตรการหรือปรับปรุงมาตรการเดิมให้ครอบคลุมถึงความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐที่สอดคล้องกัน ตลอดจนเร่งให้มีองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการออกกฎเกณฑ์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์กับภาครัฐ รวมถึงเร่งให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานรัฐตลอดจนมีการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือเพื่อให้มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐที่เข้มแข็งและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความสอดคล้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศซึ่งมีการพัฒนาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐอย่างจริงจัง
Due to electronic transaction are widely used in private sector, These result significant changes in ways of communication, including adverse effects. Modern technologies cause new forms of offenses from the use of computer and internet systems to cause damages or loss of information occurred by illegal acts. This has widely effected as a major problem in a private sector. On the other hand, Thai government has recently implemented the electronic transactions in the administrative public service, know as “e-Government”. Therefore, it is necessary for the government to have the effective personal data prevention measures because government agencies are authorized to maintain personal records. In addition, the government has to develop the system of data maintenance for the security and internationality purposes in order to ensure the public confidence in using electronic transactions with the government which is different from electronic transactions in general. Nowadays, the problems of personal data intrusion for electronic transactions in Thai government sector have no study case. In practical ways, it is difficult to ask the state agency to disclose in detail about mistake and damages about personal data collection and personal data prevention measures thoroughly. Otherwise, the disclosure of those errors and damages of personal data prevention measure of government sector may cause adverse effects to relevant parties including the agency itself. Negative images of the agency may reduce the level of public confidence in doing electronic transactions. This research, finds that Thailand should specifically create or improve the existing procedures on personal data protection for e-government to be more comprehensive in order for each government's agencies to have coherent regulations and practices. In additions, it is suggested that the governmental organizations or agencies should take responsibilities enact laws to regulations on personal data protection in electronic transactions of e-government and to urge the establishment of an agency whose function is to take care of personal data for e-government including the endorsement of the Trust Mark standards for privacy protection. This will lead to the strength and effectiveness of personal data protection procedures in Thailand in consistence with international measures which have been gradually and seriously developed.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: ข้อมูลส่วนบุคคล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- วิจัย
การป้องกันข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- วิจัย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- วิจัย
อินเตอร์เน็ตในการบริหารรัฐกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- วิจัย
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
ใจรัก เอื้อชูเกียรติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/935
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sanya_wiri.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback