DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/672

Title: ปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้าบนเครือข่ายสังคม : กรณีศึกษา Facebook และ Twitter
Other Titles: The trademark infringement on social networks : case study Facebook and Twitter
Authors: วรรัตน์ มีปรีชา
Keywords: การละเมิด
เครื่องหมายการค้า
เครือข่ายสังคมออนไลน์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สังคมออนไลน์มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมในปัจจุบันอย่างมาก ตัวอย่าง สังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมและมีผู้ใช้บริการอย่างแพร่หลายได้แก่ Facebook และ Twitter ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบธุรกิจหลายรายจึงอาศัยสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าวเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เช่น การโฆษณาสินค้า และทำการสื่อสารเครื่องหมายการค้าไปยังผู้บริโภค นอกจากนั้น การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อโฆษณาสินค้ายังเป็นประโยชน์เนื่องจากสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และมีต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำกว่าการโฆษณา หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันยังไม่มีการควบคุมการเผยแพร่เครื่องหมายการค้าอย่างเข้มงวด และพบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าว่าในหลายรูปแบบ อันได้แก่ การแอบอ้างชื่อในสื่อสังคมออนไลน์ การเสนอโฆษณาที่ไม่เหมาะสมของผู้ให้การสนับสนุน การโฆษณาเปรียบเทียบ การเสนอขายสินค้าปลอม รวมถึงการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น จากการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงได้รับความเสียหายจากการกระทำที่เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าในสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ยังไม่มีมาตรการในการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมาย การค้าในสื่อสังคมออนไลน์ และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 นั้นจะสามารถนำมาปรับใช้เพื่อยับยั้งการกระทำที่เป็นความผิดต่อการละเมิดเครื่องหมายการค้าออนไลน์ที่เกิดขึ้นแล้ว นั้น ผู้เขียนเห็นว่าการขจัดปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าในสื่อสังคมออนไลน์จะเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยหลายด้าน อันได้แก่ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ควรมีมาตรการในการยืนยัน (Verified) จากผู้ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงก่อนมีการเผยแพร่เครื่องหมายการค้า นอกจากนั้นยังควรมีมาตรการในการจัดการเผยแพร่เครื่องหมายการค้าที่ผิดกฎหมายที่ได้เกิดขึ้นแล้วนั้นให้ยุติลงโดยเร็ว นอกจากนั้นภาครัฐควรให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอย่างเหมาะสมต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตามกฎหมายพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ครอบคลุมถึงการละเมิดเครื่องหมายการค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ควรตรวจสอบก่อนการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าคู่สัญญาในการทำธุรกรรมนั้นเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอย่างแท้จริง รวมทั้งเมื่อพบการละเมิดเครื่องหมายการค้า หรือการกระทำที่เป็นความผิดทางอิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ควรแจ้งต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น การร้องเรียนไปยังเว็บไซด์ของกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ เป็นต้น
These days, the social network have played a crucial role in people’s lifestyles. The top two most popular sites with a huge group of members are Facebook and Twitter. Therefore, many business entities use the social networking sites as marketing tools to reach their target groups by commercial advertisement and trademark communication. The direct communication and the lower advertisement budget are main benefits gaining from social networking. However, there is no strict measure to control the publication of trademarks and the infringement has been found widely by subrogation, improper way of advertisement by sponsors, comparative advertisement, counterfeit goods knockoffs and impersonation. The study finds that the original trademark holders have been suffered from the infringement on social network as the service providers still have neither measures to prevent the trademark infringement nor measures to stop the existing trademark infringement. From my point of view, the measures towards the trademark infringement shall be applicable by several actions taken. Service providers should have the verifying system to confirm and verify any trademarks with original trademark holders before publication and should launch any measures to get rid of the existing violated trademark currently posted on social network. To have adaptive response to social change, Government sector should protect the right of trademark holders by interpreting the law to cover the trademark infringement on social network and the infringement on social network should be considered as guilty as any other types of trademark infringement The social network provider should check and verify before proceeding electronic transaction to ensure that they are dealing with the original trademark holders. If any trademark infringement or any other electronic crimes have been found, the social network provider should contact relevant agents i.e. Ministry of Information and Communication Technology.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: เครื่องหมายการค้า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องหมายการค้า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องหมายการค้า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--สหรัฐอเมริกา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา--การศึกษาเฉพาะกรณี
เครือข่ายสังคมออนไลน์--การศึกษาเฉพาะกรณี
เครือข่ายสังคมออนไลน์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/672
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
vorarat_meep.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback