|
DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5948
|
Title: | การเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบของโฆษณาเชิงเนื้อหาผ่าน Facebook ที่มีผลต่อการสร้างการรับรู้แบรนด์และส่งผลต่อการเพิ่มผู้ติดตามเพจ: กรณีศึกษา ก๋วยเตี๋ยวเรือแม่นงเยาว์ |
Other Titles: | Comparing the effectiveness of content-based advertising formats via Facebook on brand awareness and page follower growth: A case study of Mae Nong Yao Boat Noodles |
Authors: | ธนวัฒน์ สุขเกษม |
Keywords: | ก๋วยเตี๋ยวเรือแม่นงเยาว์ การเปรียบเทียบ การรับรู้แบรนด์ การเพิ่มผู้ติดตาม การรีวิว วิดีโอแบบสั้น |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา “การเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบของโฆษณาเชิงเนื้อหาผ่าน Facebook ที่มีผลต่อการสร้างการรับรู้แบรนด์และส่งผลต่อการเพิ่มผู้ติดตามเพจ กรณีศึกษา : ก๋วยเตี๋ยวเรือแม่นงเยาว์” โดยมีวัตถุประสงค์หลักสามประการ อันได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการใช้วิดีโอแบบสั้นเชิงเนื้อหาในการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ที่สามารถส่งผลต่อการสร้างการรับรู้แบรนด์ และส่งผลต่อการเพิ่มผู้ติดตามเพจให้กับแบรนด์ก๋วยเตี๋ยวเรือแม่นงเยาว์ 2) เพื่อศึกษาการใช้เนื้อหาภาพในการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ที่สามารถส่งผลต่อการสร้างการรับรู้แบรนด์ และส่งผลต่อการเพิ่มผู้ติดตามเพจให้กับแบรนด์ก๋วยเตี๋ยวเรือแม่นงเยาว์
3) เพื่อเปรียบเทียบการใช้รูปแบบของสื่อเพื่อการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ที่สามารถส่งผลต่อการสร้างการรับรู้แบรนด์ และส่งผลต่อการเพิ่มผู้ติดตามเพจให้กับแบรนด์ก๋วยเตี๋ยวเรือแม่นงเยาว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงทดลอง โดยเผยแพร่โฆษณาที่มีลักษณะเนื้อหาเป็นทั้งรูปภาพ และวิดีโอแบบสั้น บน Facebook เพจของแบรนด์
ซึ่งมีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากเผยแพร่โฆษณาเป็นเวลาทั้งสิ้น 30 วัน ประกอบด้วย
8 โฆษณาที่มีงบประมาณโฆษณาละ 1,200 บาท
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การใช้วิดีโอแบบสั้นในการโฆษณานั้นสร้างการรับรู้แบรนด์ และการติดตามได้ดีกว่าภาพ โดยภาพจะสร้างการรับรู้ได้น้อยกว่า ซึ่งโฆษณาที่มีการแสดงผลที่เข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด และมีค่าใช้จ่ายต่อการแสดงผล 1,000 ครั้งน้อยที่สุด ได้แก่ โฆษณาที่ 2 “การพูดคุยกับเจ้าของ” ในรูปแบบวิดีโอแบบสั้น ที่ได้รับ 23,681 การแสดงผลที่ราคาต่อการแสดงผล 1,000 ครั้ง 50.67 บาท และ 15,788 การเข้าถึงผู้บริโภค และโฆษณาที่สร้างการกดติดตามได้มากที่สุด และมีค่าใช้จ่ายต่อการติดตามน้อยที่สุด ได้แก่ โฆษณาที่ 1 “การรีวิว” ในรูปแบบวิดีโอแบบสั้น ที่ 729
การติดตามที่ค่าใช้จ่ายต่อการติดตาม 1.65 บาท โดยจากผลการวิจัย แนะนำให้การผลิตเนื้อหาของแบรนด์ในอนาคตนั้นใช้การสื่อสารโดยการใช้เจ้าของแบรนด์ และถ่ายทำในลักษณะต่าง ๆ อาทิ เบื้องหลังการทำงาน โดยมีการพูดคุยกับผู้บริโภค เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่แบรนด์ต่อไปในอนาคต
และใช้เนื้อหาประเภทการรีวิวโดยการตัดต่อให้คล้ายกับเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (UGC) ในการส่งต่อประสบการณ์จากผู้ใช้จริง เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกเกี่ยวเนื่องกับแบรนด์มากขึ้นในอนาคต This study focuses on “Comparing the Effectiveness of Content-Based Advertising Formats via Facebook on Brand Awareness and Page Follower Growth: A Case Study of Mae Nong Yao Boat Noodles” with three primary objectives: (1) to study the use of short-form video content in digital marketing communication via the Facebook platform that can affect brand awareness and page follower growth for the Mae Nong Yao Boat Noodles brand, (2) to study the use of image content in digital marketing communication via the Facebook platform that can affect brand awareness and page follower growth for the Mae Nong Yao Boat Noodles brand, and (3) to compare the use of media formats for digital marketing communication via the Facebook platform that can effectively affect brand awareness and page follower growth for the Mae Nong Yao Boat Noodles brand.
This research employed an experimental data collection method by publishing advertisements featuring both image and short-form video content on the brand's Facebook page. Data collection was conducted over a 30-day period after publishing the ads, consisting of 8 advertisements, each with a budget of 1,200 baht. The research findings indicate that using short-form video advertising generated better brand awareness and follower growth than image-based ads, which resulted in lower awareness. Notably, the advertisement achieving the highest impressions and the lowest Cost Per Mille (CPM) was Ad #2 “Conversation with the Owner” in short-form video format, receiving 23,681 impressions at a CPM of 50.67 baht and reaching 15,788 consumers. The advertisement generating the most follows and the lowest cost per follow was Ad #1 “Review” in short-form video format, securing 729 follows at a cost per follow of 1.65 baht. Based on the research findings, it is recommended that the brand's future content production should utilize communication featuring the brand owner and film various aspects, such as behind-the-scenes work, involving conversations with consumers to continue building brand awareness. Additionally, review-type content edited to resemble User-Generated Content (UGC) should be employed to share real user experiences, fostering a greater sense of connection between consumers and the brand in the future. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2566 |
Advisor(s): | ปฐมา สตะเวทิน |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5948 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|