DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5925

Title: การสื่อสารการตลาดดิจิทัลด้วยการตลาดเนื้อหาสำหรับการรับรู้ของลูกค้า: กรณีศึกษาภายใต้ร้าน Lifelab.bkk กับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรแทนดิม
Other Titles: Digital marketing communication through content marketing for customer awareness: Case study under the Lifelab.bkk Store with the Protandim dietary supplement
Authors: สุกานดา โอชะกลิ่น
Keywords: การตลาดเนื้อหา
การวิเคราห์เนื้อหา
การตลาดออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณภาพเชิงวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยมุ่งเน้นการสร้างแบรนด์คอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม Instagram ของร้าน Lifelab.bkk โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของการสร้างแบรนด์คอนเทนต์สำหรับการรับรู้แบรนด์ของลูกค้าของโปรแทนดิมภายใต้ร้าน Lifelab.bkk 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบของการสร้างแบรนด์คอนเทนต์สำหรับการรับรู้แบรนด์ ที่แตกต่างกันของแบรนด์โปรแทนดิมภายใต้ร้าน Lifelab.bkk เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบคอนเทนต์ที่แตกต่างกันสำหรับการรับรู้แบรนด์ “Protandim” โดยใช้ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาของโพสต์ Instagram ตามโครงสร้างการตลาดเนื้อหา 5 ประเภท ได้แก่ Service (ให้ประโยชน์) Explain (ให้ความรู้) Feature (สร้างแรงบันดาลใจ) Challenge (ให้ความบันเทิง) และ Persuade (โน้มน้าวใจ) จากนั้นจึงคัดเลือกประเภทคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุด 2 ประเภท ได้แก่ วิดีโอสั้นที่ให้ความรู้ และวิดีโอสั้นที่โน้มน้าวใจ มาทดลองยิงโฆษณาผ่าน Instagram Reels เป็นเวลา 1 เดือน (1 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) ด้วยงบประมาณ 2,250 บาท ผลการวิจัยพบว่า วิดีโอสั้น Instagram Reels ที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจสามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ได้สูงกว่า เมื่อเทียบกับเนื้อหาที่ให้ความรู้ อย่างไรก็ตาม วิดีโอสั้นที่ให้ความรู้กลับมียอดไลก์สูงกว่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ติดตามที่แตกต่างกันระหว่างสองรูปแบบคอนเทนต์
This study is a qualitative content analysis focusing on brand content creation on the Instagram platform of Lifelab.bkk. The objectives are:1) To examine the content branding formats that enhance brand awareness among customers of Protandim under Lifelab.bkk.2) To study and compare the effectiveness of different content branding formats in creating brand awareness for Protandim under Lifelab.bkk. The research evaluates the effectiveness of different content formats in brand awareness from November 2023 to February 2024. The study involves analyzing Instagram posts based on five content marketing structures: Service (providing benefits), Explain (educating), Feature (inspiring), Challenge (entertaining), and Persuade (convincing). The two most engaging content types—educational short videos and persuasive short videos—were selected for an Instagram Reels ad campaign, which ran for one month (May 1–31, 2024) with a budget of 2,250 THB. The findings reveal that persuasive Instagram Reels generated higher brand awareness compared to educational content. However, educational Reels received more likes, reflecting different engagement behaviors among followers for the two content formats.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2566
Advisor(s): ชุติมา เกศดายุรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5925
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sukanda_ocha.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback