DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5826

Title: การวัดประสิทธิผล ของการตลาดเนื้อหา (Content Marketing) บน Facebook Ads และ TikTok Ads ที่มีผลต่อกลุ่มเป้าหมาย Gen X Y และ Z กรณีศึกษา คอร์สเรียนปรับภาพลักษณ์ แบรนด์ โค้ชตั๊กกี้ ที่ปรึกษาภาพลักษณ์
Other Titles: The Measurement of the Effectiveness of Content Marketing on Facebook Ads and TikTok Ads Targeting Gen X, Y, and Z A Case Study of the Image Consulting Course by Coach Takkie, Image Consultant Brand
Authors: วิภาสิริ เหตุเกษ
Keywords: การตลาดเนื้อหา
Content Marketing
การมีส่วนร่วม
Engagement
Facebook Ads
การโฆษณาผ่านติ๊กต๊อก
TikTok Ads
เจนเนอเรชัน เอ๊กซ์
Generation X
เจนเนอเรชัน วาย
Generation Y
เจนเนอเรชัน ซี
Generation Z
ที่ปรึกษาภาพลักษณ์
Image Consulting
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิผลของการตลาดเนื้อหา (Content Marketing) บนแพลตฟอร์ม Facebook Ads และ TikTok Ads ที่มีผลต่อกลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชัน X, Y, และ Z โดยใช้กรณีศึกษาจากคอร์สเรียนปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์โค้ชตั๊กกี้ ที่ปรึกษาภาพลักษณ์ การศึกษาครั้งนี้ใช้การทดลอง (Experimental Research) มุ่งเน้นวัดผลการมีส่วนร่วม (Engagement) ในรูปแบบของการกดไลก์ การแชร์ การแสดงความคิดเห็น และการติดตามเพจจากโฆษณาที่สร้างขึ้นจำนวน 36 โฆษณา ซึ่งเน้นเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ 3 ประเภท ได้แก่ คอนเทนต์เพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness Content) คอนเทนต์เพื่อให้ความรู้ (Educate Content) และคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง (Entertain Content) ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายถูกแบ่งตามช่วงอายุเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ Gen X (อายุ 45-54 ปี), Gen Y (อายุ 25-44 ปี) และ Gen Z (อายุ 18-24 ปี) เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขงบประมาณและระยะเวลาโฆษณาเท่ากัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การโฆษณาผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Ads มีประสิทธิผลสูงกว่าบน Facebook Ads 2) คอนเทนต์เพื่อให้ความรู้ (Educate Content) มีประสิทธิผลสูงที่สุดต่อกลุ่มเป้าหมาย Gen X, Y, และ Z 3) เจนเนอเรชัน X สร้างการมีส่วนร่วมสูงที่สุดบน แพลตฟอร์ม TikTok Ads และผลรวมการมีส่วนร่วมระหว่าง Facebook Ads และ TikTok Ads ผลการวิจัยระบุว่าเป็น Gen X เช่นกัน ส่วน เจนเนอเรชัน Y สร้างการมีส่วนร่วมสูงที่สุดบน แพลตฟอร์ม Facebook Ads 4) การตั้งค่าวัตถุประสงค์โฆษณา เพิ่มผู้รับชมVDO มีประสิทธิผลสูงกว่า เพิ่มผู้ติดตามเพจ ผลการศึกษานี้ ให้แนวทางสำหรับผู้ประกอบการและนักการตลาดในการออกแบบกลยุทธ์การตลาดเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย และเป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการโฆษณาผ่านแพลตฟอร์ม Facebook และ TikTok สำหรับธุรกิจที่ปรึกษาภาพลักษณ์
This research aimed to measure the effectiveness of content marketing on Facebook Ads and TikTok Ads targeting Generation X, Y, and Z through using a case study of an image consulting course by Coach Takkie, an image consultant. The study employed experiment-based research to evaluate engagement in the forms of likes, shares, comments, and page follows, by generating 36 advertisements. These ads were presented in video format, categorized into three types of content: including awareness content, educational content, and entertainment content. The target audiences were segmented into three age groups: Generation X (aged 45-54), Generation Y (aged 25-44), and Generation Z (aged 18-24), to assess the differences in engagement across each demographic. The ads were tested under the same budget and ad duration conditions. The findings revealed that: 1) TikTok Ads outperformed Facebook Ads in terms of effectiveness; 2) educational content was the most effective across Gen X, Y, and Z; 3) Gen X showed the highest degree of engagement on TikTok Ads and overall across both platforms, while Gen Y demonstrated the highest level of engagement on Facebook Ads; and 4) ads with the objective of increasing video views were more effective than those aimed at gaining page followers. These results provided the insights for entrepreneurs and marketers to design content marketing strategies tailored to the interests of specific target groups, enhancing the effectiveness of advertising on Facebook and TikTok for image consulting businesses.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2567
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5826
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
vipasiri_hesk.pdf10.11 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback