DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5729

Title: ปัญหาทางกฎหมายและแนวทางการสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่มีลิขสิทธิ์ ภายใต้กรอบของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Other Titles: Legal problem and guideline on creating copyrighted photographs under personal data protection law
Authors: ธนาชัย ลิ้มกุลสวัสดิ์
Keywords: ลิขสิทธิ์
ภาพถ่ายบุคคล
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ภาพถ่ายถือเป็นงานสร้างสรรค์ในประเภทของงานศิลปกรรม ซึ่งกฎหมายลิขสิทธิ์ของนานาประเทศได้ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ภาพถ่ายดังกล่าว เมื่อผู้สร้างสรรค์ (ผู้ถ่ายภาพ) ได้ใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถที่มี และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายขึ้น โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ภาพถ่ายที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของช่างภาพตามเงื่อนไขของกฎหมายลิขสิทธิ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ถ่ายภาพทันทีนับตั้งแต่มีการบันทึกภาพนั้นโดยไม่ต้องจดทะเบียน ส่งผลให้เจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพถ่ายจะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากภาพถ่าย ที่ตนสร้างสรรค์ขึ้น ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น ประเทศไทย ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้ปลอดภัย โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่รับผิดชอบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นที่เก็บรวบรวมไว้ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึงข้อมูล ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดาที่ทำให้ระบุหรือสามารถระบุตัวตนของบุคคลได้ ซึ่งภาพถ่ายหากปรากฎข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลได้ ก็ย่อมอยู่ในความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จากการศึกษาวิจัยพบว่า กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดข้อยกเว้นสำหรับการใช้ภาพถ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือกิจกรรมในครอบครัว รวมถึงเพื่อกิจการสื่อมวลชน และงานศิลปกรรม เพื่อคุ้มครองสิทธิของส่วนบุคคลควบคู่ไปกับการเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลด้วย ส่งผลให้การใช้ภาพถ่ายที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นจะต้องดำเนินการตามมาตรการ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และตามแนวคำพิพากษาของศาลในประเทศต่าง ๆ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ส่งผลกระทบต่อการได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่อาจส่งผลให้เกิดความรับผิดเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อ ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ปรากฏในภาพถ่าย สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้กำหนดข้อยกเว้นการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในมาตรา 4 (1) การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือกิจกรรมในครอบครัว และ (3) การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม งานวรรณกรรมอันเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศที่เลือกศึกษา แต่ก็ยังไม่พบรายละเอียดข้อกำหนดเกี่ยวกับขอบเขตของข้อยกเว้นเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือกิจกรรมในครอบครัว หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจริยธรรมแห่งการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่ชัดแจ้งเพียงพอซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพิจารณาปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ดังนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำในมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยเพิ่มคำอธิบายที่ชัดเจนว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือกิจกรรมในครอบครัว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีขอบเขตอย่างไร รวมถึงการพิจารณาออกแนวทางปฏิบัติในเรื่องขอบเขตของการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรม ตามที่ได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 4 (3) ให้ชัดเจน เช่น การกำหนดถึงลักษณะงานสร้างสรรค์ที่อาจส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายต่อสิทธิส่วนบุคคล และเสนอแนะแนวทาง ในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายบุคคลเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์งานภาพถ่ายอันเป็นงานศิลปกรรม และจะได้เป็นแนวทางให้ผู้สร้างสรรค์งานภาพถ่ายสามารถสร้างสรรค์งานภาพถ่ายได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อไป
A photograph is considered as a creative work in the category of artistic works, for which the copyright laws of many countries provide copyright protection. When the creator (as a photographer) uses his own intellect, knowledge, ability, and diligence to create a photograph without copying the work of others, the photograph created by the photographer under the conditions of the copyright law is automatically, without any registration, get the copyright when the image is recorded. This authorize the copyright owner of the photograph the exclusive right to benefit from the photograph he created, including reproducing, modifying, or publicly disseminating it, as well as the right to rent it out, allow others to use the rights, or transfer the benefits arising from the copyright to others. Thailand has enacted the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) to protect the rights of personal data owners to keep their personal data secure, by setting rules for those involved in collecting, using, and disclosing personal data to be responsible for the personal data of others that they have collected. Personal data refers to any information relating to a natural person, which allows for the identification or potential identification of that person. If a photograph contains information that can identify a person, it is considered personal data that must be handled in accordance with the measures specified in the personal data protection law. According to the study, it was found that personal data protection laws provide exceptions for the use of photographs for personal or family activities, as well as for the media and artistic works. This is to protect individual rights while also respecting freedom of expression. As a result, the use of photographs that do not fall under these exceptions must comply with the measures specified in the personal data protection laws and court rulings in various countries. Failure to comply with personal data protection laws does not affect copyright protection, but may result in liability related to personal data protection laws that impacts the personal data owners depicted in the photographs. For Thailand, the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) provides exceptions for the collection, use, and disclosure of personal data in Section 4 (1) for personal or household activities, and (3) for the use or disclosure of personal data for media, artistic or literary works carried out in accordance with professional ethical principles or for public interests. This is consistent with personal data protection laws in the selected countries studied. However, no clear details were found regarding the scope of exceptions for personal or household activities, or ethical principles for the creation of artistic works, which could impact the consideration of compliance with the legal requirements. Therefore, it is recommended to amend Section 4 (1) of the Personal Data Protection Act by adding a clear explanation of the scope of "personal or household activities" that are exempt under the Act. Additionally, guidelines should be issued regarding the scope of creating artistic or literary works under the exception in Section 4 (3), such as defining creative works that may impact or cause harm to individual rights, and providing recommendations for creating photographs of individuals for commercial purposes. This would benefit the creation of photographic artworks while allowing photographers to create works without violating personal data protection laws.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--สาขาวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2566
Advisor(s): อรณิชา สวัสดิชัย
อรรยา สิงห์สงบ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5729
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
tanacahi_lemk.pdf12.15 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback