DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5672

Title: ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจไม้ประดับ (ไม้ล้อม) เพื่อการส่งออกในประเทศไทย
Other Titles: Strategic factors in ornamental plants (balled tree) export business in Thailand
Authors: วรดา เดชเกรียงไกร
Keywords: ไม้ประดับ (ไม้ล้อม)
การส่งออกทางตรง
การส่งออกทางอ้อม
หลักบริหาร 4M
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจไม้ประดับ (ไม้ล้อม) เพื่อการส่งออกในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ และ ปัจจัยเชิงกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของการส่งออกไม้ประดับ (ไม้ล้อม) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ดำเนินธุรกิจไม้ประดับ (ไม้ล้อม) จำนวนรวม 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจไม้ประดับ (ไม้ล้อม) ส่วนใหญ่ดำเนินการธุรกิจในรูปแบบครอบครัว ซึ่งจะเป็นการส่งออกในประเทศแถบตะวันกลางเป็นหลัก ได้แก่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ อียิปต์ และคูเวต รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา เมียนมาร์ และลาว โดยแหล่งที่มาของต้นไม้ ได้แก่ จังหวัดสระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท อ่างทอง และลพบุรี โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากรเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจ เนื่องจากจะต้องใช้แรงเยอะและความอดทนสูง โดยมีแรงงานประจำมากที่สุด คือ 15 คน และน้อยที่สุด คือ 2 คน ซึ่งทุกคนจะได้รับการสอนงาน และสามารถปฏิบัติงานเหมือนกันได้ทุกหน้าที่ ปัจจัยด้านเงินทุนจะมีค่าใช้จ่ายหลักเป็นค่าแรงงาน รองลงเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เพาะปลูก ปัจจัยด้านวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์จะพบว่าต้นไม้ที่จัดจำหน่ายในบางช่วงของฤดูกาลมีความไม่สัมพันธ์กันกับความต้องการของตลาด โดยต้นไม้ (ไม้ล้อม) ที่เป็นที่นิยม มากที่สุด คือ ต้นสะเดา และต้นหางนกยูง รองลงมา ต้นหูกระจง ต้นชงโค ต้นจามจุรีสีทอง ต้นคูณ ต้นมะขามเทศ และต้นปีป ตามลำดับ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการจะพบว่า การแจกจ่ายงาน การวางแผนและจัดสรรเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ และการควบคุมปริมาณได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นระเบียบและบรรลุผลสำเร็จได้ และปัจจัยเชิง กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การส่งออกทางตรง ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสกระจายสินค้าที่มีอยู่ในมือได้เพิ่มมากขึ้น สินค้ามีการหมุนเวียนอยู่ตลอด และจะไม่โดนกดราคาจากตัวแทนกลาง สำหรับการส่งออกทางอ้อม ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลในปัญหาทางด้านการผิดชำระเงิน ไม่มีความเสี่ยงด้านการขนส่ง และไม่ต้องรับผิดชอบหากต้นไม้ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง จากผลการศึกษาทำให้ได้ข้อเสนอแนะว่า ผู้ประกอบการไม้ประดับ (ไม้ล้อม) ควรศึกษาและจัดหาแนวทางในการผลิตและจัดจำหน่ายให้ทันต่อความต้องการ พร้อมทั้งศึกษาแนวทางควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน และให้ความสำคัญกับวิธีการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างละเอียด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและต่อยอดธุรกิจให้เจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น
The qualitative research “Strategic factors in ornamental plants (balled tree) export business in Thailand” was aimed at investigating factors affecting entrepreneurial success and strategic factors in ornamental plants (balled tree) export to foreign markets. The data were collected through in-depth interview sessions conducted among ten ornamental plants (balled tree) business entrepreneurs. According to the findings, the majority of the participants were family business entrepreneurs. They mainly focused on export to Middle Eastern countries (Saudi Arabia, UAE, Qatar, Egypt, Kuwait) and neighboring countries (Cambodia, Myanmar, Laos). The sources of the trees were Saraburi, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Suphan Buri, Chai Nat, Angthong, and Lop Buri provinces. There were four factors affecting entrepreneurial success. Employees were key factors because this kind of business required a large amount of manpower and endurance. The lowest and highest number of their permanent employees were 2 and 15, respectively. All of the employees were trained and able to do any tasks. In terms of capital, wages were their primary expenses, followed by the cost of gardening tools and equipment. Regarding materials, tools, and equipment, it was found that some kinds of seasonal trees were not available in accordance with the market demands. The most popular kinds of (balled tree) were Siamese neem Tree and Flame Tree, followed by Black Afara, Purple Orchid Tree, Rain Tree, Golden Shower Tree, Manila Tamarind Tree, and Indian Cork Tree, respectively. As for management, due to the effectiveness of task distribution, the management and allocation of capital, and quality and quantity control, the entrepreneurs could run systematic and successful businesses. Additionally, there were two strategic factors in export to foreign markets including direct and indirect export. Direct export could enhance product distribution, promote the consistency of product circulation, and avoid the risk of products to be underpriced by middlemen. Meanwhile, with indirect export, there would be no concern about problems on overdue payments and shipping-related risks. Entrepreneurs also did not need to be responsible for product fragility due to shipping. Based on the findings, for the benefit of the entrepreneurs and business growth, it can be suggested that the entrepreneurs should learn and develop how to produce and distribute the products to keep up with the market demands, how to control the cost of operation, and how to effectively enter foreign markets.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2565
Advisor(s): นิสิต มโนตั้งวรพันธุ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5672
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
worada_detk.pdf7.41 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback