DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5642

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจรกับภาพลักษณ์ความพึงพอใจและการยอมรับที่มีต่อน้ำมันแก๊สโซฮอล์ของผู้ขับขี่รถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationships between drivers' exposure of integrated marketing communication and image, satisfaction and adoption of gasohol in Bangkok metropolitan area
Authors: วิชชุดา ถิรบวรสกุล
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจรของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ทัศนคติต่อน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ภาพลักษณ์ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แรงจูงใจในการเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ แรงจูงใจในการเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของผู้ขับขี่รถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ความพึงพอใจต่อการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ระดับการยอมรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ของผู้ขับขี่รถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ขับขี่รถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย สถานที่สุ่มตัวอย่างคือสถานีบริการน้ำมัน ตึกอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยและห้างสรรพสินค้า โดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดจำนวนตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติการทดสอบความแตกต่างระหว่างประชากรสองกลุ่ม (T-Test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวโดยใช้สถิติไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย พบว่า 1. ผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์และผู้ขับขี่รถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ พฤติกรรมการใช้รถยนต์ในเรื่องของระยะทางโดยประมาณในแต่ละวัน จำนวนเงินต่อครั้งที่เติมน้ำมัน และความบ่อยครั้งในการเติมน้ำมันต่อสัปดาห์ต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจรของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แรงจูงใจในการเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และแรงจูงใจในการเลือกไม่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีเพศ อายุ การศึกษา รายได้ พฤติกรรมการใช้รถยนต์ในเรื่องของระยะทางโดยประมาณในแต่ละวัน จำนวนเงินต่อครั้งที่เติมน้ำมัน และความบ่อยครั้งในการเติมน้ำมันต่อสัปดาห์ต่างกัน มีความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีเพศ อายุ รายได้ พฤติกรรมการใช้รถยนต์ในเรื่องของ จำนวนเงินต่อครั้งที่เติมน้ำมันและความบ่อยครั้งในการเติมน้ำมันต่อสัปดาห์ต่างกันมีทัศนคติต่อน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีการศึกษา รายได้ พฤติกรรมการใช้รถยนต์ในเรื่องของระยะทางโดยประมาณในแต่ละวัน จำนวนเงินต่อครั้งที่เติมน้ำมันและความบ่อยครั้งในการเติมน้ำมันต่อสัปดาห์ต่างกัน มีภาพลักษณ์ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีเพศ อาชีพ พฤติกรรมการใช้รถยนต์ในเรื่องของระยะทางโดยประมาณในแต่ละวัน จำนวนเงินต่อครั้งที่เติมน้ำมันและความบ่อยครั้งในการเติมน้ำมันต่อสัปดาห์ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. ผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ยี่ห้อรถยนต์ ยี่ห้อน้ำมัน พฤติกรรมการใช้รถยนต์ในเรื่องของระยะทางโดยประมาณในแต่ละวัน จำนวนเงินต่อครั้งที่เติมน้ำมันและความบ่อยครั้งในการเติมน้ำมันต่อสัปดาห์ต่างกันมีระดับการยอมรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7. การเปิดรับข้อมูลข่าวสารการสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจรของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ทัศนคติต่อน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ภาพลักษณ์ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แรงจูงใจในการเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และแรงจูงใจในการเลือกไม่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และความพึงพอใจต่อการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์มีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
The objective of this research is to study on the exposure of the vehicle drivers to the integrated marketing communication in relation with product knowledge, attitude, persuade vehicle driver that already used gasohol to continue using gasohol, persuade vehicle driver that never used gasohol to try gasohol, satisfaction and adoption of gasohol in Bangkok metropolitan area. The research was of survey type. Specifically designed questionnaires were developed and prepared to collect data from the targeted sample group consisting of 400 drivers in Bangkok metropolitan area. Sampling from service station customer, office workers, resident area and in department store. Quota sampling technique was used to disseminate questionnaires to the sample group. The data analysis was carried out by using SPSS for Windows computer program, descriptive statistical techniques including frequency, percentage and mean and inferential statistical techniques for testing hypothesis including T-Test, One-Way ANOVA and Chi-square. The research findings revealed that 1. The vehicle drivers whom using gasohol and the vehicle drivers whom not using gasohol with different gender, age, education, occupation, income, driving distance per day, amount of buying fuel per time and frequency of buying fuel per week, have different behavior in exposing to integrated marketing communication, influence to use gasohol product and reason in not using gasohol product at statistical significance. 2. The vehicle drivers with different gender, age, education, income, driving distance per day, buying gasohol per time and frequency of buying fuel per week, have different level of product knowledge at statistical significance. 3. The vehicle drivers with different gender, age, income and behavior in buying fuel per time and frequency of buying per week. They have different attitude in gasohol product at statistical significance. 4. The vehicle drivers with difference in education, income, driving distance per day, amount of buying fuel per time and frequency of buying fuel per week. They have different image in gasohol product at statistical significance. 5. The vehicle drivers with difference in gender, occupation, driving distance per day, amount of buying fuel per time and frequency of buying fuel per week. They have difference impression and satisfaction in gasohol product at statistical significance. 6. The vehicle drivers with difference in gender, age, education, car brand, fuel product brand, driving distance per day, amount of buying fuel per time and frequency of buying fuel per week. They have difference level of acceptance or admit on the use of gasohol product at statistical significance. 7. The exposing to integrated marketing communication of Gasohol product, product knowledge, attitude, image, persuade vehicle driver that already used gasohol to continue using gasohol, persuade vehicle driver that never used gasohol to try gasohol and satisfaction to gasohol are all related to the level of product acceptance at statistical significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Advisor(s): ประทุม ฤกษ์กลาง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5642
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
witchuda_thir.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback