DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5596

Title: การศึกษาการผลิตคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งแบบใหม่สําหรับอินฟลูเอนเซอร์ในธุรกิจอุตสาหกรรมบิวตี้
Other Titles: Examining Unseen and Undiscovered Content Marketing among Influencer Marketing: A Case Study of Beauty and Cosmetics Industry
Authors: จิตลดา วรสินกุล
Keywords: อินฟลูเอนเซอร์
Influencer
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่องการศึกษาการผลิตคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งแบบใหม่สําหรับอินฟลูเอนเซอร์ในธุรกิจ อุตสาหกรรมบิวตี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งแบบใหม่ในธุรกิจบิวตี้ใน อุตสาหกรรม ความสวยความงาม (Beauty Industry) ของอินฟลูเอนเซอร์เนื่องจากผู้วิจัยเล็งเห็น ความสามารถนํามาพัฒนาต่อได้ให้คอนเทนต์มีความยั่งยืน และสามารถตอบโจทย์แก่ผู้ติดตามอินฟลู เอนเซอร์หรือ ผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด สําหรับการนําเสนอข้อมูลในงานวิจัยในครั้งนี้เป็นการนําเสนอ ในรูปแบบ พรรณนาเชิงวิเคราะห์(Descriptive Analysis) เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริโภคอายุ27-36 ปีจํานวน 10 คน โดยผู้วิจัยได้ทําการคัดเลือกจากผู้ที่มีการซื้อสินค้าตามอินฟลูเอ็นเซอร์เกี่ยวกับเครื่องสําอาง และสกินแคร์เป็นประจําโดยเป็นบุคคลที่อ้างอิงจากการมีส่วนร่วมกับเพจบิวตี้อินฟลูเอ็นเซอร์ เช่น การกดถูกใจ การแชร์และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น จากการวิจัยพบว่า อินฟลูเอนเซอร์ต้องมีการรีวิวอย่างจริงใจต่อผู้บริโภคหรือผู้ติดตามเป็นสิ่งสําคัญ ไม่ มีการอวยสินค้า หรือโชว์ผลลัพธ์ที่เกินจริง ในขณะเดียวกันต้องมีการถ่ายทอดข้อมูลสินค้าออกมาให้ ผู้บริโภคหรือผู้ติดตามเข้าใจง่าย และต้องตอบโจทย์ครบในแง่ของข้อมูลสรรพคุณสําคัญของสินค้า สามารถที่จะตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น และอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสําคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของความทําคอน เทนต์ให้ทันสมัยมีความดึงดูดต่อผู้บริโภค ไม่ใช่ลักษณะคอนเทนต์รีวิวที่พบเจอได้ทั่วไปจนชินตา การที่ รีวิวทําออกมาได้ครบทั้งสามองค์ประกอบนี้จะส่งผลให้ผู้ติดตามหรือผู้บริโภคได้รับสาร เข้าใจ และ สนใจได้อย่างสูงสุด ซึ่งสามารถบอกเป็นนัยได้ว่า โมเดลการใช้อินฟลูเอนเซอร์จะสามารถส่งผลต่อ ความน่าเชื่อถือในสินค้า หรือตราของแบรนด์ได้และส่งผลในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งจะดํารง ให้อินฟลูเอนเซอร์ในธุรกิจอุตสาหกรรมบิวตี้มีการเติบโตต่อไปในอนาคต
The objectives of this study were to new content marketing strategies in beauty industry because this study could help develop and create sustainable contents and could respond followers’ and customers’ needs well. This study employed descriptive analysis through a qualitative research method, i.e. in-depth interview conducted with 10 customers whose ages were between 27 and 36 years of age. Also, these sampled customers must always be exposed to beauty and skincare product influencers through, for example, like, share, comment, and the like. The findings of this study revealed that influencers must be sincere on what they had reviewed. In other words, they must avoid exaggeration and overclaim. Simplicity and completeness were also the core essences for influencers in reviewing products and/or services so that it was easy for customers’ decision making. Apart from these, influencers’ reviews should not be special and unique, but be updated and eye-catching, instead. These three components could enhance customers’ ultimate awareness, understanding, and consideration. The implication of this study was that marketers should employ influencers for boosting brand credibility and customers’ purchasing behaviour. Sustainability of beauty influencers could be expected in the future, hence.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2566
Subjects: เครื่องสำอาง
เครื่องสำอาง -- การติดฉลาก
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
ครีมถนอมผิว
การจัดการตลาด
ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5596
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jitrada_vora.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback