DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5262

Title: ประสิทธิผลของการทำโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก สำหรับแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับพืชที่กำลังเข้าสู่ตลาด : กรณีศึกษาแบรนด์ไคโตนิคัล
Other Titles: The effectiveness of facebook advertising for new entry product plant supplements : A case study of Chitonical
Authors: จิรัชญา โอฬาร
Keywords: ประสิทธิผล
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับพืช
การทำโฆษณา
กลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหา
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง เรื่อง ประสิทธิผลของการทำโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก สำหรับแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับพืชที่กำลังเข้าสู่ตลาด : กรณีศึกษา แบรนด์ไคโตนิคัล เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการทำโฆษณาบนเฟซบุ๊ก (Facebook) ว่าการทำแคมเปญโฆษณาและคอนเทนต์ในรูปแบบใดที่สามารถสื่อสารเพื่อเข้าถึงและสร้างการรับรู้ ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า การเก็บรวบรวมข้อมูลการทำโฆษณาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ไคโตนิคัล มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565 รวมทั้งสิ้น 4 เดือน เพื่อให้เห็นการเปรียบเทียบประสิทธิผลของโฆษณาโดยกระบวนการเก็บข้อมูลนี้จะเกิดขึ้นจากการเผยแพร่แคมเปญโฆษณาจำนวน 6 ชุดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจผ่าน Facebook Ad Manager ผลการทดลอง พบว่า การทำโฆษณาต่อการสร้างการรับรู้แบรนด์และสร้างการมีส่วนร่วมบนเฟซบุ๊ก สามารถทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ได้ ประสิทธิผลของการโฆษณาโดยการเลือก กลุ่มเป้าหมาย เพศ ช่วงอายุ พื้นที่ที่อยู่ ความสนใจเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการโฆษณาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจทำให้จำนวนการกดไลก์เพจและผู้ติดตามบนเฟซบุ๊กหลังการทำโฆษณามียอดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงคอนเทนต์ที่โพสต์ลงเฟซบุ๊กแฟนเพจทั้งหมด 6 โพสต์ ปรากฏว่ารูปแบบการทำคอนเทนต์ที่แตกต่างกันให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันในด้านการรับรู้และมีส่วนร่วมกับแบรนด์ รูปแบบการทำสื่อต่าง ๆ จำเป็นจะต้องเข้าใจลูกค้าเพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูดเพื่อสร้างการจดจำตลอดจนทำให้คนมีส่วนร่วมกับแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นการทำคอนเทนต์ด้วยรูปภาพหรือวิดีโอ ตลอดจนคำบรรยายประกอบที่ดึงดูดและน่าสนใจ ซึ่งเป็นส่วนที่ควรนำไปพัฒนาสำหรับการทำคอนเทนต์เพื่อทำแคมเปญโฆษณาครั้งต่อไปในอนาคต การวิจัยครั้งนี้สามารถช่วยให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้ที่ขายสินค้าออนไลน์ทราบแนวทางการเลือกใช้รูปแบบการทำโฆษณาและคอนเทนต์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ในการสื่อสารการทำการตลาดออนไลน์ ด้านการจำหน่ายสินค้าเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้บริโภคที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับพืชและนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้
The Effectiveness of Facebook Advertising for New Entry Product Plant Supplements: A Case Study of Chitonical. The purpose of this research was to study the effectiveness of Facebook advertising in terms of reach, brand recognition, and customer engagement. To apply the study's findings in the creation of online marketing communications and advertisement content that is appropriate and relevant to the target group of people interested in plant supplements. Data from advertising campaigns on the Facebook Page Chitonical was studied and analyzed over a four-month period (November 1, 2021–February 28, 2022). Obtaining information by publishing six campaign advertisements on the Facebook Page and collecting data using Facebook Ad Manager. The findings revealed that advertising on Facebook to increase brand recognition and engagement is the most effective way to rapidly increase the number of Facebook Page likes and followers after campaigns are launched. When all six content campaigns are considered, different content formats appear to produce different results in terms of perception and participation. Customers must understand media formats in order to create compelling content that generates brand recognition and engages people with the brand, whether the material is created using images or videos, as well as intriguing and engaging commentary. This section should be developed to create content for the upcoming advertising campaign. This study helped entrepreneurs and people who sell online products understand how to choose the best way to advertise on Facebook for successful implementation of the best online marketing communication to sell niche products to consumers who are interested in plant supplements products, as well as how to properly develop their business in the future.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)-สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564
Subjects: สารอาหารรองในเกษตรกรรม
เกษตรกรรม
เคมีการเกษตร
สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
ไคโตนิคัล (ชื่อตราผลิตภัณฑ์)
การสื่อสารทางการตลาด
การตลาดอินเทอร์เน็ต
Advisor(s): ดร.มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5262
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jiratchaya.olar.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback