DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4589
|
Title: | กรณีศึกษาการวิเคราะห์การตลาดเนื้อหาในช่องทางเฟซบุ๊กเพจของธุรกิจร้านอาหารไทย ประเภทอาหารใต้ |
Other Titles: | Content marketing analysis on Facebook brand page of Southern Thai restaurant |
Authors: | ผานิตา ผาตินาวิน |
Keywords: | การตลาดเชิงเนื้อหา เฟซบุ๊กแฟนเพจ ธุรกิจร้านอาหารไทย Fanpage Karma |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลของการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตลาด
เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์รูปแบบของเนื้อหาในช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจร้านอาหารไทยประเภทอาหารใต้ เพื่อมาปรับใช้ในการทำสื่อสารการตลาดดิจิทัลในธุรกิจร้านอาหารไทยที่ผู้วิจัยกำลังประกอบกิจการอยู่ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารของแบรนด์ ในงานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ โดยเครื่องมือ Fanpage Karma เพื่อประกอบการดึงข้อมูลมาใช้จากร้านอาหารใต้ จำนวน 3 เพจ เพื่อทำการวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบด้านเนื้อหาในแต่ละโพสต์ ในเรื่องการมีส่วนร่วม (Engagement) และรูปแบบเนื้อหา (Content) ของสมาชิกแฟนเพจ และการตอบสนองต่อการประชาสัมพันธ์ของผู้เห็นเนื้อหา
ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลเป็นระยะ 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 มีนาคม 2563 จากจำนวน ทั้งหมด 71 โพสต์ จากการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงอนุมาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เนื้อหาในแต่ละโพสต์มีการเข้าถึงสูงสุด ได้แก่ เนื้อหาประเภทที่ทำให้เกิดการกระทำ และเนื้อหาที่ทำให้ผู้เห็นสื่อเกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ เนื้อหาประเภททำให้เกิดการแชร์ข้อมูล The purpose of this research is to use the result of sentiment analysis on content marketing together with the analysis of content format on Facebook Fanpage of the southern Thai restaurants to apply with digital marketing communication of restaurant business that researcher is operating through the Facebook platform, which is the main communication channel. In this research, Fanpage Karma tools was used to analyze by fetching information from Facebook Fanpage of 3 southern Thai restaurants to make a comparative analysis on each content post in term of engagement, reach, content type from content reviewers.
The researcher collected data for one month from March 1-31, 2020 among 71 contents posted on Facebook Fanpage of Southern-Thai restaurant. By analyzing inferential and comparative contents, a researcher discovered that the factors that make the most engageable contents were Information-sharing content while the most reachable contents were action-inducing content. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562 |
Subjects: | การตลาดอินเทอร์เน็ต--การศึกษาเฉพาะกรณี ร้านอาหารไทย--การตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี ร้านอาหารพื้นเมือง--การตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี ร้านอาหาร -- รายการอาหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--การค้นคว้าอิสระ |
Advisor(s): | ชุติมา เกศดายุรัตน์ |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4589 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|