DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4462

Title: การศึกษาข้อมูลผู้บริโภคเชิงลึกและเส้นทางของผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าสุขภาพและโซลูชั่นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
Other Titles: Consumer Insights and Journeys for Healthcare Products and Elderly Living Solutions
Authors: กฤตภาส แย้มนาม
Keywords: ผู้สูงอายุ
พฤติกรรมเชิงลึก
สินค้าสุขภาพ
โซลูชั่นที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลผู้บริโภคเชิงลึกของผู้บริโภค ด้านวิถีการดำเนินชีวิต ทัศนคติ ช่องทางการสื่อสารและการตัดสินใจซื้อกลุ่มสินค้าสุขภาพและโซลูชัน ที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ รวมถึงเส้นทางของผู้บริโภคกลุ่มสินค้าสุขภาพและโซลูชั่นที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มผู้ที่เข้ามาใช้บริการซื้อ สินค้าในร้านขายสินค้าดูแลสุขภาพผู้สูงอายุหรือผู้ที่เคยซื้อสินค้าดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 6 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ซื้อสินค้าสุขภาพและโซลูชั่นที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุใช้งานเอง (ผู้สูงอายุ) จำนวน 3 คน และ กลุ่มผู้ที่ซื้อสินค้าสุขภาพและโซลูชั่นที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุให้กับผู้อื่น (ผู้ดูแลสูงอายุ) จำนวน 3 คน ผลการวิจัยพบว่า สินค้าสุขภาพมีการรับรู้กับทั้งสองกลุ่มคือผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ แต่มีการรับรู้ที่แตกต่างกัน ผู้สูงอายุมีรับรู้จากสื่อออฟไลน์และออนไลน์ โดยรับอิทธิพลจากแพทย์หรือ เพื่อนมากที่สุด ส่วนผู้ดูแลผู้สูงอายุจะรับรู้ได้จากการสังเกตและพูดคุยผู้สูงอายุที่ดูแลอยู่ การเลือกซื้อ สินค้าสุขภาพทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้ดูแลผู้สูงอายุจะตัดสินใจเลือกซื้อได้ด้วยตัวเอง แต่ส่วนใหญ่หาก เป็นช่องทางการซื้อออฟไลน์ผู้สูงอายุจะไปซื้อเอง แต่หากมีการซื้อออนไลน์จะให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือ ลูกหลานเป็นคนดำเนินการให้มากกว่า ซึ่งปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อออนไลน์นั้นส่วนใหญ่จะเกิด จากเรื่องราคาและความสะดวกสบายในการซื้อเป็นหลัก ส่วนโซลูชั่นที่อยู่อาศัย ผู้ตัดสินใจซื้อโซลูชั่นที่ อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุมากกว่าเนื่องจากเป็นผู้ที่มีรายได้ แต่หากเป็นสิ่งของเล็ก ๆ ผู้สูงอายุจะสามารถตัดสินใจซื้อเองได้ และผู้สูงอายุเพศหญิงมักจะปรึกษาเรื่องที่อยู่อาศัยกับลูก มากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย การเลือกซื้อและตัดสินใจร่วมกันมีผลต่อการยอมรับการใช้การเลือกซื้อและ ตัดสินใจร่วมกันมีผลต่อการยอมรับการใช้งานของโซลูชั่นที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุนั้นง่ายขึ้นมากกว่า การเลือกซื้อจากผู้ดูแลผู้สูงอายุเพียงฝ่ายเดียว
This qualitative research aimed to study on consumer insights regarding their lifestyles, attitudes, communication channels, and purchasing decisions for healthproducts and housing solutions for the elderly and also to study their consumer journey for health products and housing solutions for the elderly. The data was collected by means of in-depth interviews with six people who had bought healthcare products for the older people or those who had experienced in buying such products. The six interviewees were divided into three for each group, i.e. a group of those who had purchased health products and housing solutions for the elderly for their own use (the elderly themselves) and another group of those who had purchased health products and housing solutions for the elderly for other people’s use (the caregiver). The research results revealed that the health products were perceived by both groups, the elderly and the elderly caregivers, but with different behaviors. The elderly were exposed to offline and online media, mostly influenced by doctors and friends, though. As for the elderly caregivers, they bought such products from observing and discussing with the elderly whom they were taking care of. Purchasing health products, both the elderly and the elderly caregivers made their own purchasing decisions. Mostly, if it was an offline channel, the elderly went to buy the products by themselves. If it was an online channel, in contrast, it tended to be that the elderly caregivers or grandchildren would be told to purchase. The decision-making factors to buy the products online were predominantly due to price and convenience of buying. As for the housing solutions, most decision makers were the elderly care givers because they had income. If it was a small-size product, however, the elderly would make their own purchase. And the female elderly tended to have more discussions on the housing solutions with their children than the male counterparts. Purchasing behavior and decision making should be rather shared by both the elderly and the elderly caregivers than decided by the latter alone because easier acceptance for the use of the housing solutions among the elderly could be the expected result.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: ผู้สูงอายุ--ที่อยู่อาศัย--วิจัย
ผู้บริโภคสูงอายุ--วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--สารนิพนธ์
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4462
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Krittapas_Yaem.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback