DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4457

Title: การศึกษาประสบการณ์การใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการสอนของครู
Other Titles: User experience for digital teaching platform
Authors: เขมรัตน์ บุญหล่อสุวรรณ์
Keywords: ประสบการณ์การใช้งาน
ดิจิทัลแพลตฟอร์ม
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยอิสระเรื่องการศึกษาประสบการณ์การใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการสอนของครู ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งใช้การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Group Interview) โดยมุ่งศึกษาไปที่ประสบการณ์การใช้งาน ในแง่ความรู้สึกที่เกี่ยวกับการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกของดิจิทัลแพลตฟอร์ม ความสะดวกราบรื่นในการใช้งาน และการเข้าถึงแพลตฟอร์มสามารถทำได้โดยไม่เกิดอุปสรรค ทั้งนี้ ยังรวมถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้เปิดรับ หรือไม่เปิดรับดิจิทัลแพลตฟอร์มดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปพัฒนากลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค Digital Disruption โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ตามช่วงอายุหลักของประชากรศาสตร์ ได้แก่ กลุ่มเจนเนอเรชันเอกซ์ ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2508-2523 และกลุ่มเจนเนอเรชันวาย ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2524-2543 เพื่อวิเคราะห์ว่าช่วงอายุที่แตกต่างกันนั้นมีผลต่อการเปิดรับนวัตกรรมใหม่หรือไม่ จากผลการวิจัยพบว่าช่วงอายุของครูไม่มีผลต่อการเปิดรับนวัตกรรมใหม่ โดยปัจจัยสำคัญในการเปิดรับนวัตกรรมนั้นต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องมีความเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถแบ่งเบาภาระงานหลักที่ทำประจำอยู่ได้จริง สอดคล้องไปกับแนวนโยบายจากทางภาครัฐและกระแสโลกที่ผลักดันให้รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ใช้สื่อในรูปแบบดิจิทัลเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้เรียน ตอบโจทย์การสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21
This independent research is conducted under the subject of studies on experience of digital platform usage to support teaching methods of teachers, using Qualitative Research Method to collect information through Interview which emphasizes on experience of usage in terms of feelings related to external design of the digital platform, user friendly and access capability to the platform without any difficulties. This also includes important factors that may cause people to either accept or ignore such platform. It is carried out with a purpose of employing results of the research to develop marketing communication with target groups, considering changing behaviors in this Digital Disruption world. This is divided into 2 groups in accordance with main age demography, namely Generation X who were born between 1965 and 1980 and Generation Y who were born between 1981 and 2000. This is to analyze different age groups which may have an impact upon the acceptance of this innovation. From this research, it is found that age range of teachers has no impact upon the acceptance of this innovation. The main factors of such acceptance must well meet the current requirements, user friendly and can genuinely assist daily routine, in compliance with the Government’s and Global trends to push this digital learning format to create better experience suitable for learners’ behaviors in response to the task of skill development in the 21st century.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: การเรียนการสอนผ่านเว็บ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ชุติมา เกศดายุรัตน์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--สารนิพนธ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4457
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
khemmarut_boon.pdf993.77 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback