DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4247

Title: การศึกษาประสิทธิภาพการสื่อสารไปสู่ผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตด้วยคอนเทนต์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ
Other Titles: The Communicative Effectiveness of the Digital Content on Facebook Fanpages Targeting to Those with Mental Health Problems in Thailand
Authors: จอมแก้ว วิเศษชลหาร
Keywords: การสื่อสาร
สุขภาพจิต
เฟซบุ๊คแฟนเพจ
คอนเทนต์
การให้คำปรึกษา
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของคอนเทนต์และองค์ประกอบของคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจและการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้งาน โดยใช้ตัวชี้วัดเป็นจำนวน Like, Comment และ Share และเพื่อศึกษาองค์ประกอบของคอนเทนต์เพื่อสื่อสารกับผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่เก็บรวมรวมด้วยการบันทึกข้อมูล (Coding Sheet) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคอนเทนต์จากโพสต์บน เฟซบุ๊กแฟนเพจที่ไม่หวังผลกำไรที่มีเนื้อหาเรื่องสุขภาพจิต โดยศึกษาเฉพาะคอนเทนต์จากเฟซบุ๊ก แฟนเพจจำนวน 4 เพจ ได้แก่ เมื่อผมป่วยเป็นโรคซึมเศร้า คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ตามใจ นักจิตวิทยา และสาส์นจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งเขียนโดยแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยา การปรึกษาและผู้ที่เคยมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตหรือผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้คำปรึกษาและให้ การรักษาปัญหาทางสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 จำนวนรวม 99 คอนเทนต์ พบว่า แม้ว่าจำนวนคอนเทนต์ที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในสายสุขภาพจิต ที่มีจุดประสงค์ ของการนำเสนอเพื่อให้ความรู้จะมีสัดส่วนที่น้อยกว่าคอนเทนต์ที่เขียนโดยผู้ที่เคย/กำลังประสบปัญหา ทางสุขภาพจิตเพื่อบอกเล่าประสบการณ์ แต่ก็ได้รับก็ได้รับความนิยมมากกว่า คอนเทนต์ที่เน้น Rational Appeal ที่ได้รับเสียงตอบรับมากกว่าคอนเทนต์ที่เน้น Emotional Appeal ส่วนรูปแบบ ของคอนเทนต์ที่นำเสนอที่ได้รับความนิยมสูงสุด 2 อันดับแรก คือแบบที่เป็นรูปภาพ และคอนเทนต์ แบบที่เป็นภาพอินโฟกราฟิก และสุดท้าย พบว่า มีการใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาทั้งที่ให้ความหมายเชิงความหมายโดยนัยยะ และความหมายตรง ในคอนเทนต์ทุกชิ้น
The objectives of this research are to study the type and elements of contents that attract and receive the participation from the users, using the number of “Likes”, “Comments”, and “Share” to learn the components that could effectively communicate to those with mental health problems. The quantitative research method was used in terms of content analysis of the collected data, sorted into the coding sheet, from 4 Facebook Fanpages: @panic.pornchs, @D2JED, @followpsychologist, and @letter.from.depression. All the selected Facebook Fanpages were created and managed by psychiatrists, clinical psychologist, the current treatment receivers and the veteran of mental health problems. Ninety-nine selected contents were from 1 January to 31 March 2019. The study indicates that despite the fact that the number of experience sharing contents created by the current ones and the veteran of mental health problems outnumbered those created by mental health experts educating the users, the latter was more popular, as well as those with rational appeals that receive more participation. In terms of the popular types of contents, still photos and infographics gain more attention. Finally, verbal and non-verbal languages are important to imply the literal and implying meaning in each content.
Description: การค้นคว้าอิสระ(นศ.ม.)--สาขาวิชาสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: โรคซึมเศร้า
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
สุขภาพจิต
ความซึมเศร้า -- การวินิจฉัย
บุคคลซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าที่มีอาการโรคจิต
บริการสุขภาพจิตชุมชน
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4247
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jomkaew.vise.pdf6.03 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback