DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4024

Title: พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อและความคาดหวังของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิวผ่าน ช่องทางออนไลน์ ของคนช่วงอายุ 19–30 ปี
Other Titles: Online purchasing behavior and their expectation on Anti–Acne supplementary food among 19-30 year-of-age people.
Authors: วารณี กิตติอารีพงศ์
Keywords: ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิว
พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิวผ่านช่องทางออนไลน์
ความคาดหวังของ ผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิวบนสื่อออนไลน์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิว ผ่านช่องทางออนไลน์ และเพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิวบน สื่อออนไลน์ ของคนในช่วงอายุ 19-30 ปี โดยผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 19-30 ปี และมีประสบการณ์เคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิวแบรนด์ใดก็ได้ผ่านช่องทาง ออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวนทั้งสิ้น 20 คน ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่าผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่มีความกังวลในผลข้างเคียงที่เกิดจากส่วนประกอบ ของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิวต่อร่างกาย ดังนั้นผู้บริโภคจึงให้ความสำคัญในการพิจารณาในตัว ผลิตภัณฑ์เป็นพิเศษ ซึ่งเห็นได้ชัดจากพฤติกรรมค้นหาข้อมูลและรีวิวตามสื่อบนโลกออนไลน์ ตลอดจน คนรอบข้าง อาทิเช่น เว็บบล็อกด้านความงาม บิวตี้บล็อกเกอร์/YouTuber และ เพื่อน/คนรู้จักที่เคย บริโภค เป็นต้น จากนั้นผู้บริโภคจะทำการประเมินและเปรียบเทียบในแง่ของคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ราคาโปรโมชัน รีวิวผู้บริโภค และความน่าเชื่อถือของผู้จำหน่ายผ่านช่องทางสื่อออนไลน์เป็นหลัก และ ทันทีที่หลังจากสิ้นสุดการพิจารณา ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรักษาสิวผ่าน ช่องทางออนไลน์ เพราะความสะดวกจากการรับการบริการ ทั้งในแง่การสื่อสารต่อผู้ขาย การสั่งซื้อ การชำระเงิน และการรับสินค้า ทั้งนี้หากผู้บริโภครู้สึกพึงพอใจในผลลัพธ์ที่ได้ ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรม บอกต่อคนรอบข้างที่รู้จัก ถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นหลังการบริโภคอาหารเสริมรักษาสิวด้วยตนเอง ในลักษณะ เชิงคำพูดปากเปล่า รวมทั้งคนรอบข้างที่ไม่รู้จักในลักษณะการเขียนรีวิวสนับสนุนในรูปแบบลาย ลักษณ์ในวิธีที่ต่างกันไป เช่น ผ่านช่องทางบล็อก/กระทู้ที่ตนสร้างหรือกระทู้สาธารณะที่มีคนกล่าวถึง แสดงความคิดเห็นบนช่องทาง Brand media หรือแม้แต่ Social Media ของตน เป็นต้น นอกจากประเด็นเรื่องพฤติกรรมการบอกต่อของผู้ให้ข้อมูล ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์การตอบสนอง ที่ดีต่อแบรนด์แล้ว จากการศึกษายังพบความเป็น Brand Loyalty ที่สูงมากอีกด้วย กล่าวคือ ผู้ให้ ข้อมูลมีแนวโน้มและความต้องการซื้อซ้ำเพื่อบริโภคอย่างต่อเนื่องจนกว่าปัญหาสิวจะหมดไป โดยที่ไม่เลือกซื้อและพิจารณาแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่นอีก แต่อย่างไรก็ตาม ทันทีที่ปัญหาสิวได้รับการ เยียวยาจนหายสนิทแล้ว ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่กลับมีพฤติกรรมไม่ซื้ออาหารเสริมรักษาสิวต่อ เนื่องจาก ไม่เห็นถึงความสำคัญของการซื้อเพื่อบริโภคต่อ และเกิดความกังวลต่อผลกระทบที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ระยะยาว ผู้ให้ข้อมูลมีความคาดหวังต่อแบรนด์บนสื่อออนไลน์ ในด้านข่าวสารด้านคุณสมบัติของ ผลิตภัณฑ์ ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันการเกิดสิว ประกอบกับรีวิว ประสบการณ์จริงจากผู้บริโภคหลังการรับประทาน ตามลำดับและมีพฤติกรรมรอคอยและติดตาม โปรโมชันที่ทางแบรนด์จะจัดขึ้น อีกทั้งผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความชื่นชอบภาพลักษณ์แบรนด์อาหาร เสริมรักษาสีสันสดใสมากเป็นพิเศษ และให้ความรู้สึกที่ดีในบรรยากาศแบรนด์อาหารเสริมเชิง ผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าลักษณะการแนะนำทั่วไป เพราะผู้บริโภครู้สึกถึงความน่าเชื่อถือ และไว้วางใจใน ผลิตภัณฑ์ว่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกับผู้บริโภค
The objective of this independent research is to study Customer behavior in Online Purchasing Behavior and their expectation on Anti–Acne supplementary food among 19-30 year-of-age people. A total of 20 randomly selected people who had purchased this product more than one time are chosen to conduct an In-depth- interview and then proceed further to use content analysis to obtain the results. The results show that most of consumers concern in result of Dose-related adverse effects of product. They take a lot of time to search for information and any reviews on online via Web blog, Influencer/Beauty blogger etc. Then, they will compare and evaluate in products to seek for the best of them with regarding this; qualification, promotion, review and reliability of seller. After finished consideration, they agree to purchase product via online channel because of more comfortable in communication, payment and delivering goods. If any customers are satisfied in the result of product as expectation, they will pass of information to another person about the great experience they received. Moreover, all of them are very likely to repurchase with the brand previously without searching for other brands. By the way, whenever the acne problem has already been cured, some consumers don’t want to purchase anti-acne supplementary food anymore because of none of passion and concern in long effect tern of the dosed use. The study also shows that almost consumers expect in information from brand about qualification, how to take care skin from acne problem, upcoming promotion, review and experience from end-user. Furthermore, they love to hearing information from the professional of skincare community with the cheerful image.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562
Subjects: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
การตัดสินใจ
ช่องทางการตลาด
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4024
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
waranee_kitt.pdf11.11 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback