DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3690

Title: วิเคราะห์แนวทางการจัดตั้งสถาบันพัฒนาทักษะการสื่อสารทางดนตรีเพื่อการแข่งขัน
Other Titles: Business Model for Competition-Focused Music Institute
Authors: กุลณภา กรับไกรแก้ว
Keywords: สถาบัน
ดนตรี
พัฒนาทักษะ
การแข่งขัน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง “วิเคราะห์แนวทางการจัดตั้งสถาบันพัฒนาทักษะการสื่อสารทางดนตรีเพื่อการแข่งขัน” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรของสถาบันดนตรีเพื่อประยุกต์ใช้กับสถาบันพัฒนาทักษะการสื่อสารทางดนตรีเพื่อการแข่งขัน (2) ศึกษากลยุทธ์ในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาทักษะการสื่อสารทางดนตรีเพื่อการแข่งขัน (3) ศึกษากระบวนการในการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจที่จะมาเรียน (4) ศึกษากระบวนการในการพัฒนาผู้เรียนร้องเพลงให้สู่มาตรฐานสากล งานวิจัยฉบับนี้ มีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพได้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านการประกวดในรายการแข่งขันดนตรีในประเทศไทยก่อนเข่าสู่วงการเพลงจำนวน 3 ท่าน พบว่า คนที่จะก้าวมาเป็นศิลปินได้นั้นต้องมีการฝึกฝนพัฒนาทักษะอยู่ตลอดเวลา ต้องหาคาแรกเตอร์ แนวเพลง ที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ทางดนตรีที่เหมาะสมพร้อมก้าวสู่การเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จต่อไป ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการแจกแบบสอบถามออนไลน์ 200 ชุด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 25-35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน /ลูกจ้าง และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ด้านพฤติกรรมการเข้าชม พบว่า ส่วนใหญ่สนใจมาเรียนถ้าสถาบันมีหลักสูตรสำหรับการแข่งขัน ระยะเวลาเรียนที่จะสามารถรับสิ่งต่างๆ ที่ครูสอนได้อย่างเต็มที่ คือ 3-4 ชั่วโมง และระยะเวลาของการเรียนคอร์สสำหรับการแข่งขันที่คิดว่าเหมาะสม คือ 3 เดือน โดยจะมาเรียนถ้าสถาบันมีผู้สอนที่มีประสบการณ์การแข่งขันโดยตรงและประสบความสำเร็จจากเวทีแข่งขัน และความสนใจในการมาเรียนลดลงถ้าผู้สอนมีประสบการณ์การแข่งขัน มีความสามารถแต่ไม่มีชื่อเสียง รายการแข่งขันร้องเพลงที่เคยรับชม คือ The Voice Thailand ถ้ามีโอกาสเข้าแข่งขันร้องเพลงจะเลือกเข้าแข่งขันรายการ The Voice Thailand ส่วนใหญ่เคยเรียนร้องเพลงตามสถาบันสอนดนตรี มีจุดประสงค์ในการเรียนดนตรี คือ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และมีค่าใช้จ่ายการเรียนดนตรีแต่ละเดือน คือ 2,001-4,000 บาท สนใจดนตรีประเภทป๊อบมากที่สุด เครื่องดนตรีและวิชาเรียนที่สนใจจะเลือกเรียน คือ ขับร้อง ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันสอนดนตรี พบว่า ราคาคอร์สเรียนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันเรียนดนตรี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 รองลงมาคือ ความสะดวกสบายในการเดินทางมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันสอนดนตรี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 รองลงมาคือ การเปิดโอกาสให้ทดลองเรียนฟรีมีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันสอนดนตรี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ผลการวิจัยข้างต้นจะมีประโยชน์ในการสร้างกลยุทธ์เพื่อบริหารจัดการสถาบันสอนดนตรีให้มีคุณภาพ สามารถดึงดูดและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
This Thesis: Business Model for Competition-Focused Music Institute, its objectives are; (1) To investigate courses formats of music institutes in market for developing a music competition-focused course model. (2) To understand the business strategy of music institutes in market for designing a competition-focused institute business model. (3) To demonstrate consumer behaviors and demands for understanding the drive of music training and interests. (4) To explore the learning process of competition-focus course, reaching the international standard. Data collection of this thesis has been achieved by using both qualitative and quantitative research methods. For the qualitative data collection, three interviews have been conducted respectively with professional musicians who have experienced and key succeed in their music careers starting from a music contest. Two essential factors were found to their success: (1) artists need extensive training and regular practice to acquire the skills and necessitated knowledge to interpret music at a professional level; (2) artists must find their own music styles which match their characters in order to create their unique artistic identities. To understand customer behaviors in and demands for musical courses, Online 200 questionnaires have been collected. Respondents are mainly female, aged between 25 and 35, with bachelor’s degrees and an average monthly income of 10,001-20,000 baht. Questionnaire results suggest that most respondents are interested in purchasing competition-focused courses delivered by tutors with experience in music contests and are famous artists themselves. Ideal courses should contain three to four hours of daily training and last up to three months. The majority of respondents watch and would like to compete in The Voice Thailand. They can afford musical courses cost from 2,001 to 4,000 baht, are interested in pop-music, and prefer to join vocal performance courses. In addition, it has been found that the purchase decision on music courses is highly based on the course price (4.38), institute location (4.33) and free trial courses (4.32), consecutively. In Summary the thesis conclude as: It is useful to create a strategy to manage of quality the Institute of music. Attract and meet the needs of the students as well.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: ดนตรี
การร้องเพลง
ดนตรี -- การแข่งขัน
การร้องเพลง -- การแข่งขัน
ทักษะการเรียน
Advisor(s): กมลทิพย์ เตชะสกุลมาศ
ปีเตอร์ รุ่งเรืองกานต์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3690
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kunnapa_grab.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback