DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2928

Title: ทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต กรณีศึกษาเพลินวาน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: The attitudes of nostalgia tourism among Thai tourist at Plearnwan Huahin
Authors: อภิดิฐ อุทิศธรรมศักดิ์
Keywords: ทัศนคติ
การท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต
เพลินวาน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ต่อการท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต 2. เพื่อศึกษาระดับทัศนคตินักท่องเที่ยวไทยต่อสถานที่ท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต 3. เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต ตัวอย่างในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต เพลินวาน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน หรือ ANOVA (Analysis of variance) การทดสอบอิทธิพลด้วยวิธี Simple Regression Analysis ซึ่งผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี มีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนักเรียน/ นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนในช่วง 15,000บาทหรือต่ำกว่า มีวัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยวแบบนันทนาการ เน้นการพักผ่อน มีจำนวนครั้งที่เคยไปแบบไปครั้งแรกและนิยมไปท่องเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ ไปท่องเที่ยวกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งประมาณ 500 บาทหรือต่ำกว่า ส่วนใหญ่มองว่าเพลินวานเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์รวบรวมเรื่องราวในสมัยเก่า มีจุดเด่นด้านการจำลองอาคาร สถานที่เป็นแบบย้อนยุคและมีวัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสภาพ/ บรรยากาศย้อนอดีต ผลการศึกษาระดับแรงจูงใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.99) ผลการศึกษาระดับทัศนคติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่นักท่องเที่ยวชาวไทยมีระดับทัศนคติดีที่สุดคือ ด้านการเข้าถึงง่าย อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 4.14) รองลงมาคือ ด้านความน่าสนใจของสถานที่ท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.90) โดยด้านการรับรู้และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยที่เท่ากันอยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.81) และผลของการทดสอบอิทธิพลด้วยวิธี Simple Regression Analysis พบว่าแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต เพลินวานและสามารถใช้เป็นตัวพยากรณ์ในการคาดคะเนการบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวยังมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อการท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต เพลินวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
The objectives of this research were 1) to study the demographic factors of Thai tourists affecting nostalgic tourism, 2) to study Thai tourists’ attitude towards nostalgic tourism, and 3) to study motivation affecting Thai tourists’ decision making to select nostalgic tourist attractions. The sample of this research consisted of 400 Thai tourists who travelled to Plearn Wan, a nostalgic tourist attraction. The questionnaire was used as the research instrument. Data were analyzed by using descriptive statistics, namely percentage, mean, standard deviation, and inferential statistics, namely t-test, ANOVA (Analysis of variance), and Simple Regression Analysis. The results of this study showed that the respondents mostly were females; those aged 21-30 years; single people; and students; those with average monthly income of 15,000 Baht or below. The purpose of travel was for recreation and relaxation; they mostly have ever went to Plearn Wan for the first time and preferred travelling on the weekend; they travelled with friends/ co-workers; the travel cost per time was around 500 baht or lower; most of them viewed that Plearnwan was the center of ancient and historical stories with its strengths of anciently simulated building and ancient spots; they aimed to travel for touching past and historical image and atmosphere. Moreover, overall motivation of the sample was at a high level (x̅ = 3.99). Overall attitude of the sample was at a high level (x̅ = 3.92). When individual aspects were considered, Thai tourists’ attitude with the highest level was easy accessibility (high level) (x̅ = 4.14), followed by attractiveness of tourist sites (high level) ( x̅ = 3.90), perception and basic facilities (with similar mean score at high level) (x̅ = 3.81). Based on Simple Regression Analysis, the results indicated that the sample’s tourism motivation was related to attitude towards nostalgic tourism and this factor could be used to predict the variation in the service with a statistical significance level. Besides, tourism motivation influenced tourists’ travel to Plearn Wan, a nostalgic tourist attraction with a statistical significance level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Advisor(s): ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2928
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
abhidit_utid.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback