DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2701

Title: การวัดความสามารถด้านจังหวะการลงทุนและการเลือกสรรหลักทรัพย์ของผู้จัดการกองทุน : กรณีการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นขนาดใหญ่
Other Titles: Measuring The Market Timing and Selectivity Abilities of Mutual Fund Managers: Case Study of The Equity Large Cap Fund
Authors: ฉวีวรรรณ ทิพย์วัน
Keywords: ผู้จัดการกองทุน
การจับจังหวะการลงทุนแต่ละสภาวะตลาด
การเลือกสรรหลักทรัพย์
กองทุนหุ้นขนาดใหญ่
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ เป็นการศึกษาความสามารถของผู้จัดการกองทุนด้านการจับจังหวะการลงทุนแต่ละสภาวะตลาด (Market Timing Ability) และความสามารถในการเลือกสรรหลักทรัพย์ (Selectivity Ability) ที่ลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนประเภทกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap) ซึ่งมีกลยุทธ์ในการบริหารกองทุนรวมที่มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management) จำนวน 18 กองทุน ด้วยแบบจำลองของ Treynor & Mazuy (1966) และแบบจำลองของ Henriksson & Merton (1981) โดยเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุน อัตราดอกเบี้ยตั๋วเงินคลัง 1 เดือน และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2012 ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2017 ผลการศึกษาครั้งนี้จะพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ที่เป็นบวกเพื่อแสดงถึงความความสามารถของผู้จัดการกองทุนด้านช่วงจังหวะการลงทุนแต่ละสภาวะตลาด และความสามารถในการเลือกสรรหลักทรัพย์ พบว่าการใช้แบบจำลองของ Treynor & Mazuy (1966) ไม่มีผู้จัดการกองทุนกองทุนใดที่มีความสามารถด้านจับจังหวะการลงทุน แต่มีผู้จัดการกองทุน 3 กองทุน ที่มีความสามารถในการเลือกสรรหลักทรัพย์ที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง สำหรับแบบจำลอง Henriskson & Merton (1981) พบว่ามี 3 กองทุน ที่ผู้จัดการกองทุนมีความสามารถในด้านจับจังหวะการลงทุน และมี 1 กองทุน ที่มีความสามารถในการเลือกสรรหลักทรัพย์ที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
This independent study aimed to examine the market timing and selectivity abilities of mutual fund managers based on performances of 18 equity large cap funds with active management policy. Using Treynor & Mazuy (1966) model and Henriksson & Merton (1981) model, the secondary data on net asset value per unit for each mutual fund, one-month Treasury bills and the Stock Exchange index of Thailand from January 4, 2012 to August 31, 2017 were collected. The results of this study would consider the positive coefficients to reflect the ability of fund managers in terms of market timing and their ability to select stocks. Treynor & Mazuy (1966) model did not find any fund managers capable of market timing. But there were 3 funds that fund managers had the ability to select securities that were below the intrinsic value. On the other hand, Henriksson & Merton (1981) model found that there were 3 funds that fund managers had market timing ability and one fund had the ability to select securities which values were lower than the intrinsic value.
Description: การค้นคว้าอิสระ (วท.ม.) -- สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การส่งเสริมการลงทุน
การลงทุน -- ไทย
หุ้นและการเล่นหุ้น -- ไทย
ตลาดทุน -- ไทย
Advisor(s): สุมณี ศุภกรโกศัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2701
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chaweewan_tipw.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback