DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2676

Title: ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศอินโดนีเซีย
Other Titles: The Relationship Between Financial Ratio and Stock Price of Consumer Group, Indonesia Stock Exchange
Authors: ณัชพล ตั้งเมืองทอง
Keywords: อัตราส่วนทางการเงิน
กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศอินโดนีเซีย
Issue Date: Aug-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาว่าอัตราส่วนทางการเงินแต่ละประเภทมีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคของตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้อัตราส่วนการเงินเพื่อวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยอัตราส่วนที่เลือกมาใช้ในการศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนทรัพย์สินคล่องตัว อัตราการหมุนของทรัพย์สินรวม อัตราส่วนแห่งหนี้สินรวม ผลตอบแทนสุทธิจากส่วนของผู้เป็นเจ้าของ และอัตราส่วนราคาต่อกำไร โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2546 ถึง ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2559 รวม 56 ไตรมาส จำนวน 11 หลักทรัพย์ แล้วนำไปวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ที่ระดับความเชื่อมั่น 90%, 95% และ 99% ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัย ผลตอบแทนสุทธิจากส่วนของผู้เป็นเจ้าของ และอัตราส่วนราคาต่อกำไร มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% ส่วนอัตราส่วนทรัพย์สินคล่องตัว และอัตราส่วนแห่งหนี้สินรวม มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์เพียงบางหลักทรัพย์เท่านั้น
This research investigates the relationship between financial ratio and the stock price of Public Companies Listed in Consumer Products on Indonesia Stock Exchange. This study analyzed five ratios including Quick Ratio, Total Asset Turnover, Debt Ratio, Return on equity (ROE) and Price-Earnings Ratio (PE). The data is retrieved on quarterly basis from the first quarter of 2003 to the fourth quarter of 2016,Totally 56 quarters from 11 stocks. For methodology, the multiple linear regression models are used to find the relationship between the financial ratios and stock prices and accept the significant level 0.01 , 0.05 and 0.10 The evidences show that financial ratios correlated with stock price are Return on equity (ROE) and Price-Earnings Ratio (PE) at the significant level 0.01. Otherwise Quick Ratio, Total Asset -Turnover and Debt Ratio have no explanatory power toward stock prices.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
อัตราส่วนราคาหลักทรัพย์ต่อผลตอบแทนการลงทุน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
หุ้นสามัญ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทมหาชน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ตลาดหลักทรัพย์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ตลาดหลักทรัพย์ -- อินโดนีเซีย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): รพีสร เฟื่องเกษม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2676
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nutchaphon_tang.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback