DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2657

Title: การสร้างคุณค่าร่วมที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคต่อบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Creating Shared Value that influence Brand Loyalty of SCG's Customers in Bangkok
Authors: วรวัฒน์ สายสีนวล
Keywords: การสร้างคุณค่าร่วม
ความจงรักภักดี
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย
นวัตกรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) เพื่อศึกษาถึงระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการสร้างคุณค่าร่วม (CSV) ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาระดับความจงรักภักดีองค์กรของผู้บริโภคต่อบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในสายตาผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสร้างคุณค่าร่วมขององค์กรที่มีต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคต่อบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้สินค้าและบริการจากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 93 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการสร้างคุณค่าร่วม (CSV) ทั้ง 3 ปัจจัย คือ ด้านการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ ด้านการปรับปรุงผลิตภาพใหม่ในโซ่คุณค่า และด้านการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อความจงรักภักดี ทั้ง 2 ปัจจัย คือ ด้านทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทั้ง 3 ปัจจัยคือ ด้านการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ ด้านการปรับปรุงผลิตภาพใหม่ในโซ่คุณค่า และด้านการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคต่อบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ 0.05
The objectives of this research are 1) To study the customers’ perception towards Creating Shared Value of Siam Cement Group Public Company Limited (SCG) 2) To study the Brand Loyalty towards SCG among customers who live in Bangkok and 3) To study the influence of Creating Shared Value on Brand Loyalty of SCG’s customers. The set of questionnaires were randomly distributed to collect the primary data from 93 samples who are the SCG’s customers living in Bangkok. Statistic methods used to analyse in the study are descriptive statistics and inferential statistics. The descriptive statistics includes Percentage, Arithmetic and Standard deviation. On the other hand, the inferential statistics will include regression analysis method to analyze simple regression model. The study results firstly show us that the samples are strongly agreed on 3 factors towards Creating Shared Value which are 1.Reconceiving products and market 2.Redefining productivity in the value chain and 3. Enabling local cluster development. Second, the sample perceive Brand Loyalty based on 2 factors which are Attitudinal Loyalty (strongly agreed) and Behavioral Loyalty (agreed). Third, the hypothesis testing shows that 1. Reconceiving products and market 2. Redefining productivity in the value chain and 3. Enabling local cluster development significantly influence on brand loyalty of SCG’s customer who live in Bangkok at alpha level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิททยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: ความภักดีของลูกค้า
พฤติกรรมผู้บริโภค
ความพอใจของผู้บริโภค
ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
Advisor(s): ศศิประภา พันธนาเสวี
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2657
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Worawat.sais.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback