DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2382

Title: ปัญหาทางกฎหมายเรื่องหลักการโอนความเสี่ยงภัยในทางการค้าระหว่างประเทศ : ผู้รับโอนความเสี่ยงภัยเป็นโจทย์ฟ้องคดีในศาลไทย
Other Titles: Legal issue concerning the principle of transfer of risks in international trade : case in the event the risk transferee is the plaintiff in a lawsuit filed with the Thai court
Authors: จารุภัทร กวีนันทวงศ์
Keywords: การค้าระหว่างประเทศ
ความเสี่ยงภัย
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในปัจจุบันการซื้อขายระหว่างประเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกรรมในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยประเทศไทยจะมีการซื้อขายกับต่างประเทศอันมีมูลค่านำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี ซึ่งในประเทศต่างๆที่มีการทำการค้าระหว่างประเทศก็ได้มีความพยายามที่จะพัฒนากฎหมายภายในประเทศ เพื่อให้สามารถนำมาปรับใช้กับการค้าระหว่างประเทศได้ เพราะการซื้อขายระหว่างประเทศมีลักษณะแตกต่างจากการซื้อขายภายในประเทศ ในส่วนของประเทศไทยเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายนั้นจากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาททางด้านการซื้อขายสินค้าระหว่าง ประเทศ ทั้งมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (United Nations convention on Contracts for the lntematiomal Sale of Goods หรือ ClSG) ทำให้ในทางปฏิบัติศาลไทยต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายภายในมาปรับใช้กับข้อพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ มีผลทำให้เกิดปัญหาในการปรับใช้บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ให้ใช้กับการซื้อขายภายในประเทศ แต่เมื่อจำเป็นต้องนำมาปรับใช้กับการซื้อขายระหว่างประเทศจึงเกิดปัญหาในด้านการไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนของการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการโอนความเสี่ยงภัย โดยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยในบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องซื้อขายนั้น ยังไม่แยกหลักเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยออกจากเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ โดยถือว่าถ้ากรรมสิทธิ์ยังอยู่กับเจ้าของทรัพย์ (ผู้ขาย) หากเกิดความเสียหายเกิคขึ้นโดยโทษผู้ซื้อไม่ได้แล้ว ผู้ขายย่อมเป็นฝ่ายรับบาปเคราะห์นั้น ในทางกลับกันกรณีที่ มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมีผลทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นโอนไปยังผู้ซื้อแล้ว ต่อมาทรัพย์นั้นสูญหายเสียหายโดยมิใช่ความผิดของผู้ขาย ผู้ซื้อย่อมต้องรับผลในความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่หลักในเรื่องการซื้อขายระหว่างประเทศซึ่งดูจากกฏระเบียบทางการค้า (lncoterms 2000) ไม่ได้กล่าวถึงว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นจะโอนเมื่อใดแต่หลักนี้ได้กำหนดให้ความเสี่ยงภัย (risk) ในตัวสินค้าโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายในเทอมต่างๆ ณ จุดที่ต่างกัน ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องพิจารณาตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ซึ่งทำให้เข้าใจว่าหลักในการซื้อขายระหว่างประเทศนั้นแยกหลักเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ออกจากการโอนความเสี่ยงภัย โดยนำมาโยงกับการส่งมอบทรัพย์ เนื่องจากถือหลักการควบคุม (concept of control) โดยถือว่าผู้ใดครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ ผู้นั้นย่อมมีโอกาสปกป้องทรัพย์นั้นจากภัยพิบัติได้ดีกว่า ฉะนั้นหากผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นผู้ขายควรจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับหลักการโอนความเสี่ยงภัยในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศตามอนุสัญญาสหประชาชาติ (CISG) ทำให้เห็นว่า ตามวรรคท้ายของ Aricle 67 (1) CISG กำหนดไว้ว่าความเสี่ยงภัยสามารถโอนไปได้โดยไม่ต้องดูว่าผู้ขายได้ยึดถือเอกสารที่มีผลต่อการโอนกรรมสิทธิ์สินค้าตามกฎหมายสารบัญญัติที่คู่กรณีเลือกหรือไม่ จึงถือได้ว่าวรรคท้ายของ Article 67 (1) เป็นการบัญญัติเพื่อยืนยันว่าภายใต้ CISG นั้นหลักการโอนความเสี่ยงภัยกับหลักกรรมสิทธ์ในสินค้าแยกและเป็นอิสระจากกัน เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังถือหลักกรรมสิทธิซึ่งหลักดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักความเสี่ยงภัยในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ และบทบัญญัติของกฏหมายไทยตาม ป.พ.พ. มาตรา 370-372 ก็ไม่ได้บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับการโอนความเสี่ยงภัยในสัญญาซื้อขาย ระหว่างประเทศไว้เป็นการเฉพาะ เป็นแค่เพียงบทบัญญัติหลักทั่วไปที่กำหนดขึ้นเพื่อบังคับต่อ การโอนความเสี่ยงภัยในเรี่องการซื้อขายสินค้าตามโครงสร้างของกฏหมายไทยที่เป็นอยู่ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสภาพการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน ผู้ศึกษาจึง เห็นว่าประเทศไทยควรพิจารณากำหนดคนโยบายตรากฏหมายภาย้ไนของไทยเพื่อบังคับต่อการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศโตยกกำหนดหลักความเสี่ยงภัยให้มีความเป็นสากล โดยอาจศึกษาโครงสร้างของ ClSG และ INCOTERMS เพื่อเอามาปรับใช้ให้มีความสอดคล้องกันกับ หลักเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยก็มีร่างพระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องหลักความเสี่ยงภัยไว้ และจากการศึกษาหลักการโอนความเสี่ยงภัยที่บัญญัติไว้ในร่างฉบับนี้ ก็มีความสอดคล้องกับประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ และ เพื่อให้ศาลไทยสามารถที่จะพิจารณาตัดสินคดีได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปตามประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติในทางการค้าที่ได้รับการยอมรับอย่างทั่วไปจากกลุ่มของพ่อค้าและนักธุรกิจระหว่างประเทศ ที่เพิ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ อาจจะยังไม่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการเลือกเทอมทางการค้าที่เหมาะสม และปลอดภัยในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ และเพื่อให้ตรงตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ จึงเสนอแนะไห้มีการเร่งผล้กดันร่างพระราชบ้ญญัติสัญญาซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ ฉบับนี้ออกมามีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยเร็วและเป็นการยกระดับกฎหมายพาณิชย์ระหว่างประเทศของไทยให้มีความทัดเทียม ทำให้การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ทั้งภายในและระหว่างประเทศ เป็นสากลยิ่งขื้น
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: การค้าเสรีและการคุ้มครอง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การค้าระหว่างประเทศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
คำฟ้อง (คดีแพ่ง) -- การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
สัญญา (กฎหมายระหว่างประเทศ) -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): นเรศร์ เกษะประกร
สุรพล อ่อนอุระ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2382
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jarupat_kawe.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback