DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2295

Title: กลยุทธ์การทำรีมาร์เก็ตติ้งผ่าน Google Display Network กับประสิทธิภาพของการโฆษณาสำหรับธุรกิจ B2B ประเภทโรงงานผลิตเครื่องสำอาง
Other Titles: Remarketing strategies by Google display network and advertising effectiveness for B2B business: A case study of skincare manufacturer
Authors: ชญานิศ จิตรีปลื้ม
Keywords: รีมาร์เก็ตติ้ง
การตลาดดิจิทัล
ธุรกิจ B2B
โรงงานผลิตเครื่องสำอาง
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเตรียมตัวสำหรับธุรกิจ B2B ก่อนการเริ่มทำการตลาดดิจิทัล 2) กลยุทธ์การทำรีมาร์เก็ตติ้งผ่าน Google Display Network ของธุรกิจ B2B และ 3) เปรียบเทียบความถี่ในการแสดงผล และ ระยะเวลาในการติดตาม ของการทำรีมาร์เก็ตติ้งผ่าน Google Display Network กับประสิทธิภาพของการโฆษณาสำหรับธุรกิจ B2B ประเภทโรงงานผลิตเครื่องสำอาง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้บริการด้านโฆษณารูปแบบ Remarketing โดยตรง ผู้เชี่ยวชาญด้านโฆษณาของธุรกิจ B2B และผู้เชี่ยวชาญด้านประสิทธิภาพของการโฆษณา จากนั้นจึงนำกลยุทธ์ที่สรุปได้จากการสัมภาษณ์ไปทำการทดลองโฆษณาจริงผ่านเครื่องมือ Google Display Network กับเว็บไซต์ www.qualityplus.co.th ใน 4 ช่วงเวลา กับกลุ่มตัวอย่างช่วงละ 5,000 คนขึ้นไป เป็นระยะเวลารวม 44 วัน ผลการวิจัยพบว่า ในการเตรียมตัวสำหรับธุรกิจ B2B ก่อนเริ่มทำการตลาดดิจิทัล ต้องเริ่มจากการเตรียมตัวจากบุคลากรภายในองค์กร วางแผนการประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และ การออกแบบธุรกิจให้เป็นมากกว่าแค่สินค้า เพื่อสร้างจุดแข็งในการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ก่อนที่จะลงทุนทำการตลาด เพื่อลดโอกาสการสูญเสียงบประมาณ และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของธุรกิจ โดยธุรกิจ B2B ที่ต้องการ Conversion บนหน้าเว็บไซต์สามารถทำโฆษณาในรูปแบบรีมาร์เก็ตติ้งผ่าน Google Display Network ได้ 4 กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์การทำรีมาร์เก็ตติ้งจากวัตถุประสงค์ของธุรกิจ 2) กลยุทธ์การกำหนดรูปแบบการทำรีมาร์เก็ตติ้ง 3) กลยุทธ์การกำหนดวิธีการติดตาม ของการทำรีมาร์เก็ตติ้ง และ 4) กลยุทธ์การทำรีมาร์เก็ตติ้ง โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายจากพฤติกรรม ในส่วนของความถี่ในการแสดงผล และ ระยะเวลาในการติดตาม พบว่า การทำรีมาร์เก็ตติ้งด้วย ความถี่ 6 ครั้ง และระยะเวลาในการติดตาม 7 วัน ทำให้ผู้ชมโฆษณามีแนวโน้มสนใจดูโฆษณามากกว่า สร้างโอกาสในการติดต่อได้ดีที่สุด และได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำที่สุด
This research was a mixed method; qualitative and quantitative research. The objectives were: 1) to study the preparation for the B2B business before starting digital marketing, 2) to study the remarketing strategies through Google Display Network for the B2B business, and 3) to study and compare the output frequency and duration of the remarketing through Google Display Network for B2B business of skincare manufacturers. Data collection was done by conducting in-depth interviews a remarketing advertising provider and a performance marketing & B2B business advertising provider. The strategy concluded from the interviews was tested through the Google Display Network ads on qualityplus.co.th website for 44 days, divided into four test duration. There was no less than 5,000 people for each period. A study found that the preparation for the B2B business before investing in digital marketing starts from within the organization. The planning, coordination between agencies, and business design to be more than just a product to build on the strengths of digital marketing prior to increase the chances for success of business goal, able to perform 4 remarketing strategies that are appropriate for B2B businesses comprising of 1) Strategy to remarket based on the business objectives, 2) Strategy to define remarketing forms, 3) Strategy to determine how to follow up, and 4) Strategy to remarket by determining the target behavior. In terms of frequency of display and duration of follow-up, it was found that the remarketing frequency was 6 times, and 7 days follow up period resulted in audience is likely to gain more opportunities for customer contact can create for as low of average cost as possible.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ภัทรภร สังขปรีชา
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2295
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chayanis_jitr.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback