DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2230
|
Title: | การศึกษากฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของต่างประเทศเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย |
Other Titles: | The study of the foreign special economic zone’s law compared to the Thailand special economic zone code |
Authors: | กันตวรรณ ชัยเทอดศิริ |
Keywords: | เขตเศรษฐกิจพิเศษ เขตเศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | ด้วยวิวัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อจูงใจนักลงทุนชาวต่างชาติ ที่มีแหล่งเงินทุนตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตให้เข้ามาลงทุนในประเทศตน แต่เนื่องจากโครงสร้างทางการเมืองการปกครองของประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่เอื้อต่อการพัฒนาทั้งระบบในคราวเดียว ประเทศที่กำลังพัฒนาจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่เฉพาะเพื่อให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนชาวต่างชาติ ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้จัดให้มี หรือ อยู่ในระหว่างการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดหมายที่จะศึกษาถึงกฎหมายของประเทศที่นักลงทุนให้ความสนใจมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน เปรียบเทียบกับประเทศที่นักลงทุนไม่ให้ความสนใจเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้เช่นสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และ ศึกษาถึงประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังจัดให้มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่นราชอณาจักรกัมพูชา
จากการศึกษาพบว่า ประเทศแรกที่ดำเนินโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ คือสาธารณรัฐประชาชนจีน แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ แต่เขตเศรษฐกิจพิเศษกลับประสบความสำเร็จอย่างงดงาม หลายประเทศที่เป็นประเทศกำลังพัฒนานำนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษไปประยุกต์ใช้กับประเทศตน แต่ ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะประสบความสำเร็จอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับประเทศไทยในขณะนี้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษอยู่ในขั้นตอนการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยผู้ศึกษามีความเห็นว่าหากนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม กล่าวคือ การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษอยู่ภายใต้หลักสุจริต ไม่มีลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคล ก็จะส่งผลดีต่อการเปิดโอกาสทางธุรกิจ ใหม่ๆ ผลัดดันการพัฒนาธุรกิจด้านต่างๆของคนในประเทศอันจะส่งผลดีต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะเป็นการเปิดรับเทคโนโลยีในการผลิต เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่คนไทยไม่สามารถคิดค้นได้ เกิดการจ้างงานภายในประเทศทั้งภาคแรงงานไร้ฝีมือ และ แรงงานระดับผู้ชำนาญการ พร้อมทั้งมีเม็ดเงินต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่เมืองไทยอย่างต่อเนื่อง ลักษณ์วรรณ พิมพ์สวัสดิ์ Present-day many countries in Asian continent are tried to convince the foreign investor by adjusting their own domestic law. This was a consequence from a rapidly change in global evolution in present. We have to admit that foreign investor had a enormous capital fund and advanced technology to provide to our country. The problem for our country and developed country was they did not have a solid political structure to readjust their entire system. Specific area has o be focused to give the privilege to the foreign investor. In this time special economic zone was established or is being established by many developed countries.
This independent study will focus in specific laws which were tempted by the foreign investor to invest in the developed country special economic zone such as the People's Republic of China (PRC). The author will compare those interested country laws with the unconcerned country such as the Republic of Philippines and Thailand adjacent countries which are going to establish the special economic zone such as the Kingdom of Cambodia.
The pioneer nation of the special economic zone which is the People's Republic of China (PRC) was studied. The author founded that even the People's Republic of China (PRC) had governed their country by communism, though the People's Republic of China (PRC) was enormously success. The People's Republic of China (PRC)’s special economic zone policy was adapted by many developed country but there are little of them were quite as successful as the People's Republic of China (PRC).
For Thailand we were in the process of drafting the special economic zone’s bill. The author considered that if there were appropriate condition, the establishment of the special economic zone could be feasible. The appropriate condition must contain the honesty principle and no favorable profit to any individual or group. This appropriate condition will create the opportunity to our economic and drive the business flow in the country. The lack of skill labor, advanced technology and capital fund will be disappeared by the support of the foreign investor. |
Description: | สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550 |
Subjects: | เขตเศรษฐกิจพิเศษ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี เขตเศรษฐกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี เขตเศรษฐกิจพิเศษ -- การศึกษาเฉพาะกรณี เขตเศรษฐกิจ -- การศึกษาเฉพาะกรณี |
Advisor(s): | นเรศร์ เกษะประกร นิรุจน์ มณีพันธ์ |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2230 |
Appears in Collections: | Independent Studies Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|